แนะนำ 6 เทคนิคสัมภาษณ์งานยังไง? ไม่ให้ถูกต่อรองเงินเดือน

เทคนิค, สัมภาษณ์งาน, ต่อรองเงินเดือน, เงินเดือน, ทำงาน, หน้าที่การงาน, ผู้สมัคร, นายจ้าง, องค์กร

เทคนิคการเจรจาไม่ให้ถูกต่อเงินเดือน!

เทคนิค, สัมภาษณ์งาน, ต่อรองเงินเดือน, เงินเดือน, ทำงาน, หน้าที่การงาน, ผู้สมัคร, นายจ้าง, องค์กร

เป็นอีกหนึ่งความท้าท้ายและเป็นคำถามที่ผู้หางานทุกคนจะต้องเจอในห้องสัมภาษณ์ นั่นก็คือ "คุณคาดหวังเงินเดือนอยู่ที่เท่าไหร่?" เรียกได้ว่าเป็นคำถามธรรมดาแต่ตอบไม่ง่ายเลย ดังนั้นผู้หางานควรจะต้องเรียนรู้ 6 เทคนิคว่าควรไปสัมภาษณ์งานยังไง? ไม่ให้ถูกต่อรองเงินเดือนก่อนที่จะไปสัมภาษณ์งาน รับรองเลยว่าคุณจะได้ทั้งงานและเงินเดือนตามที่คาดหวังไว้อย่างแน่นอนค่ะ

"การต่อรองเงินเดือน" ถือเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของการสัมภาษณ์งาน เพราะมันเปรียบเสมือนว่าตัวคุณนั้นคือสินค้าที่สามารถตั้งราคาตนเองเพื่อให้ลูกค้าซึ่งก็คือนายจ้างคนใหม่เป็นผู้ซื้อ ถือว่าเป็นหนึ่งในขั้นตอนสำคัญของการสัมภาษณ์งานเลยก็ว่าได้ค่ะ แถมยังเป็นช่วง "วัดใจ" อนาคตหน้าที่การงานของคุณเลยทีเดียว เพราะถ้าหากคุณเรียกเงินเดือนน้อยไปก็ต้องยอมรับกับสภาพเงินเดือนที่คุณอาจจะไม่ได้พอใจสักเท่าไหร่ หรือถ้าเรียกเงินเดือนมากไปก็กลัวนายจ้างคนใหม่จะไม่รับเข้าทำงานนั่นเองค่ะ

สัมภาษณ์งานยังไง? ไม่ให้ถูกต่อรองเงินเดือน

เทคนิค, สัมภาษณ์งาน, ต่อรองเงินเดือน, เงินเดือน, ทำงาน, หน้าที่การงาน, ผู้สมัคร, นายจ้าง, องค์กร

ในวันสัมภาษณ์เมื่อผู้หางานบอกเงินเดือนที่คาดหวังออกไป ก็มักจะโดนต่อเงินเดือนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งทำเอาลำบากใจอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียวค่ะ ดังนั้น ผู้หางานจะต้องมีเทคนิคโน้มน้าวใจนายจ้างคนใหม่ระหว่างสัมภาษณ์งานให้เห็นว่า คุณมีค่ามากพอที่จะได้รับเงินเดือนตามที่คาดหวัง ไม่ควรที่จะถูกต่อรองเงินเดือน!

1. อย่าลาออกถ้ายังไม่ได้งาน

เทคนิค, สัมภาษณ์งาน, ต่อรองเงินเดือน, เงินเดือน, ทำงาน, หน้าที่การงาน, ผู้สมัคร, นายจ้าง, องค์กร

อย่าเพิ่มความเสี่ยงให้ตัวเองด้วยการลาออกก่อนได้งานใหม่ เพราะนายจ้างส่วนมากจะให้เครดิตกับผู้สมัครที่มีงานทำมากกว่าผู้สมัครที่ว่างงาน เนื่องจากนายจ้างจะคลางแคลงใจว่าทำไมคุณจึงรีบออกจากงานกะทันหัน หรือมั่นใจว่ายังไงคุณก็ต้องตอบรับเข้าทำงาน ถึงจะถูกกดเงินเดือน เพราะไม่อยากว่างงานนานๆ ดังนั้น ถ้าอยากถือไพ่เหนือกว่าในการต่อรองเงินเดือน ต้องอย่าเพิ่งด่วนใจร้อนลาออกก่อนได้งานใหม่

2. ประเมินค่าตัวของตนเองก่อนเสมอ

เทคนิค, สัมภาษณ์งาน, ต่อรองเงินเดือน, เงินเดือน, ทำงาน, หน้าที่การงาน, ผู้สมัคร, นายจ้าง, องค์กร

ควรทำการบ้านสำหรับเงินเดือนที่คุณคาดหวังไว้ก่อนไปสัมภาษณ์งานก่อนเสมอ ด้วยการประเมินค่าตัวของตนเองที่เป็นไปได้จริงแบบไม่เพ้อเจ้อ นั่นคือคำนวณจาก เงินเดือนของที่ทำงานปัจจุบันของคุณ วุฒิการศึกษา สถาบันที่จบมา ประสบการณ์ ผลงานที่ผ่านมา เมื่อนำมาคำนวณแล้วก็จะสามารถเรียกเงินเดือนตามจริงได้ โดยที่นายจ้างไม่สามารถต่อรองเงินเดือนคุณได้ เพราะคุณมีค่ามากพอที่จะได้รับเงินเดือนตามที่คาดหวังไว้

3. ทำตัวเหมือนคนมีทางเลือก

เทคนิค, สัมภาษณ์งาน, ต่อรองเงินเดือน, เงินเดือน, ทำงาน, หน้าที่การงาน, ผู้สมัคร, นายจ้าง, องค์กร

คงไม่มีใครอยากเป็นตัวเลือกของใคร ดังนั้นคุณต้องทำตัวเองให้มีทางเลือกอยู่เสมอ ใช้วิชาแอคติ้งเข้าช่วยด้วยการคีพลุคให้ดูเป็นคนใจเย็น ประหนึ่งว่าคุณมี Offer จากองค์กรชั้นนำมาให้เลือกเป็นสิบๆ แม้ว่าความจริงแล้วคุณอาจจะอยากได้งานนี้มากก็ตาม เพราะนายจ้างจะมองคุณเป็นของตาย คิดว่าสามารถกดเงินเดือนให้ต่ำกว่าที่ขอไว้ได้ไม่ยาก

4. อธิบายเหตุผลของตัวเลขที่ขอ

เทคนิค, สัมภาษณ์งาน, ต่อรองเงินเดือน, เงินเดือน, ทำงาน, หน้าที่การงาน, ผู้สมัคร, นายจ้าง, องค์กร

การเลือกคนเข้าทำงานก็เหมือนการเลือกซื้อของ แน่นอนว่าคุณต้องเลือกซื้อของที่คุ้มค่ากับเงินที่เสียไป นายจ้างก็เหมือนกัน เขาจะเลือกจ้างคนที่คิดว่าคุ้มค่ากับงินเดือนที่จ่ายไปมากที่สุด จึงเป็นหน้าที่ของคุณที่ต้องพยายามขายตัวเองให้เขาตัดสินใจเลือก ด้วยการบอกเล่าที่มาของจำนวนเงินที่ขอไป คุณอาจจะพูดถึงประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมา หรือความรู้ความสามารถที่นำมาพัฒนาองค์กรได้

5. อย่ายอมในครั้งแรก

เทคนิค, สัมภาษณ์งาน, ต่อรองเงินเดือน, เงินเดือน, ทำงาน, หน้าที่การงาน, ผู้สมัคร, นายจ้าง, องค์กร

นิสัยขี้เกรงใจคนอื่นมากเกินไป ไม่ควรนำมาใช้ในการต่อรองเงินเดือน เพราะสิ่งที่ขึ้นชื่อว่าเป็นธุรกิจ ทุกอย่างล้วนมีผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้องอยู่แล้ว ดังนั้นให้คุณคิดเสมอว่าทุกอย่างคือธุรกิจและคุณเป็นฟันเฟืองชิ้นหนึ่งที่สร้างประโยชน์ให้องค์กรได้ คุณควรได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสม เมื่อทางนายจ้างต่อรองเงินเดือนเข้ามาในครั้งแรก อยากให้หนักแน่นเข้าไว้ เพราะก่อนตัดสินใจเรียกเงินไป คุณได้คิดมาอย่างดีแล้วว่ามันเหมาะสมกับความรู้ความสามารถที่คุณมี ดังนั้นอยากให้มั่นใจและมองผลประโยชน์ของตัวเองมาเป็นอันดับแรก

6. ไม่ไหวอย่าฝืน

เทคนิค, สัมภาษณ์งาน, ต่อรองเงินเดือน, เงินเดือน, ทำงาน, หน้าที่การงาน, ผู้สมัคร, นายจ้าง, องค์กร

หากในใจลึกๆ แล้วคุณอยากได้งานนี้มาก ก็ให้ลองถามองค์กรดูอีกครั้งว่ามีการปรับเงินเดือนหลังผ่านโปรหรือไม่? หรือถ้าคุณทำผลงานดีจะมีโอกาสปรับขึ้นเงินเดือนหรือเปล่า? แต่หากผลสุดท้ายการเจรจาต่อรองไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้ คุณก็คงต้องกลับมานั่งคิดวิเคราะห์ให้ดีอีกครั้งว่าสิ่งที่เขา Offer มานั้นเหมาะสมกับหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบและความสามารถหรือเพียงพอต่อค่าใช้จ่ายต่างๆ ในชีวิตประจำวันหรือเปล่า? ถ้าคำนวณทุกอย่างรวมกันแล้วรู้สึกไม่คุ้ม ก็ให้เลือกปฏิเสธไปน่าจะดีกว่า

ขอบคุณข้อมูลจาก Jobthai

บทความที่เกี่ยวข้อง
  • แนะนำ-8-วิธีที่คนอยากเปลี่ยนสายงานต้องอ่าน

    แนะนำ 8 วิธีที่คนอยากเปลี่ยนสายงานต้องอ่าน!

    By AI Fern | 12/06/2020

    เมื่อหมด Passion ในสายงานเดิมที่ทำอยู่ อยากลองเปลี่ยนสายอาชีพไปทำในสิ่งที่ตัวเองรักหรือไปทำอะไรใหม่ๆ บ้าง วันนี้เราเลยจะมาแนะนำวิธีดีๆ ที่จะทำให้การเปลี่ยนสายงานใหม่ของคุณกลายเป็นเรื่องง่ายๆ

  • ทำความรู้จัก-KPI-คืออะไรสำคัญอย่างไรกับองค์กร

    ทำความรู้จัก KPI คืออะไร? สำคัญอย่างไรกับองค์กร

    By AI Fern | 18/06/2020

    มาทำความรู้จักกับ KPI กันดีกว่าว่ามันคืออะไร? และสำคัญอย่างไรกับองค์กร? ต้องบอกเลยว่า KPI เป็นหนึ่งตัวอักษรย่อที่คนทำงานมักจะได้ยินกันบ่อยๆ เพราะทุกองค์กรย่อมต้องมีการประเมินวัดผล

  • จับตาเทรนด์ผู้บริโภคหลังพ้นวิกฤตโควิดอะไรจะอยู่อะไรจะไป

    จับตา! เทรนด์ผู้บริโภคหลังพ้นวิกฤตโควิด อะไรจะอยู่ อะไรจะไป?

    By AI Fern | 10/06/2020

    มาจับตาเทรนด์ผู้บริโภคหลังวิกฤตโควิดกัน! อะไรจะอยู่ อะไรจะไป? เพราะนับตั้งแต่ที่โลกกำลังเผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด ทำให้ในหลายประเทศเกิดความวุ่นวายทางเศรษฐกิจ พฤติกรรมของผู้บริโภคก็กำลังเปลี่ยนแปลงไป

Jobs aSearcher