ความแตกต่างระหว่าง KPI กับ OKR ตัวไหนควรใช้ หาคำตอบได้ที่นี่

ความแตกต่างระหว่าง KPI กับ OKR ตัวไหนควรใช้ หาคำตอบได้ที่นี่

ความแตกต่าง, KPI, OKR, เป้าหมาย, การดำเนินงาน, ประเมินผล, ความเหมาะสม, จุดเด่น, ประยุกต์ใช้

การวัดผลในองค์กรต่างๆ นั้น ก็จะมีสองเกณฑ์หลักๆ ที่ใช้วัด ซึ่งก็คือโอเคอาร์ และเคพีไอ ที่อาจจะเคยได้ยินกันบ่อยๆ ในที่ทำงาน ซึ่งหลายคนก็อาจจะมีความสงสัยถึงความแตกต่างระหว่าง KPI และ OKR ว่าสองตัวนี้นั้นแตกต่างกันมากน้อยแค่ไหน และตัวไหนเหมาะสมสำหรับใช้ในองค์กรมากกว่า วันนี้จะพาไปหาคำตอบกันครับ

สำหรับเกณฑ์ทั้งสองตัวที่นำมาใช้วัดผลและประเมินผลนั้น เป้าหมายหลักก็คือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการืทำงานโดยภาพรวม วัดประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานเป็นรายบุคคล รายทีม หรือทั้งหมด และเป็นการกำหนดผลลัพธ์ที่จะช่วยกำหนดทิศทางในการดำเนินงานขององค์กรได้ ซึ่งแต่ละตัวนั้น ก็มีข้อดีและข้อเสีย รวมถึงรายละเอียดปลีกย่อยที่ค่อนข้างแตกต่างกันพอสมควร โดยเฉพาะในขั้นตอนของการกำหนดวิธีการหรือขั้นตอนในการวัดผล ที่มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน แต่ทั้งสองเกณฑ์นั้นถือเป็นสิ่งที่จะช่วยให้องค์กรมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องรู้ถึงสิ่งที่แตกต่างระหว่างสองเกณฑ์นี้ เพื่อนำไปปรับใช้ในองค์กรได้อย่างถูกต้องนั่นเอง

 

KPI และ OKR แตกต่างกันอย่างไร? ตัวไหนควรใช้?

ความแตกต่าง, KPI, OKR, เป้าหมาย, การดำเนินงาน, ประเมินผล, ความเหมาะสม, จุดเด่น, ประยุกต์ใช้

สำหรับคำถามที่หลายสงสัยกันว่า KPI และ OKR แตกต่างกันอย่างไรนั้น จะสรุปมาให้อ่านกันคร่าวๆ ตามนี้ครับ

 

ขั้นตอนของ KPI

ความแตกต่าง, KPI, OKR, เป้าหมาย, การดำเนินงาน, ประเมินผล, ความเหมาะสม, จุดเด่น, ประยุกต์ใช้

การสร้างเครื่องมือวัดผลด้วยวิธีแบบ KPI นั้น มีขั้นตอนดังนี้

  • ระบุเป้าหมาย หรือสิ่งที่ต้องการวัดผล
  • กำหนดตัวชี้วัด
  • สร้างเกณฑ์การประเมินผล
  • ทดลอง และดำเนินงานตามที่กำหนด
  • ประเมินผลการดำเนินงาน

โดยจุดเด่นของ KPI คือมีเกณฑ์การวัดผลที่ชัดเจน มีการทำงานเป็นลำดับขั้นตอน ประสิทธิภาพของพนักงานมีผลกับการประเมินในอนาคต และเป้าหมายของพนักงานคือทำเพื่อผลตอบแทนบางอย่าง ซึ่งส่วนมากจะเป็นการเลื่อนขั้นงาน หรือผลการประเมินที่ดี โดยได้รับความนิยมในองค์กรทั่วไปเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะทำงานใดก็มักจะต้องมี KPI ที่ช่วยกำหนดวิธีการทำงานรวมถึงวัดผลการทำงานของพนักงานแต่ละคน

ส่วนข้อสังเกตของ KPI นั้น บางคนอาจจะมองว่าเป็นวิธีการที่ให้ความสำคัญกับขั้นตอนมากเกินไป การดำเนินงานใช้เวลาค่อนข้างนาน และไม่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้อย่างยั่งยืน เพราะพนักงานก็จะรีดประสิทธิภาพออกมาในเฉพาะช่วงที่มีการวัดและประเมินผลเท่านั้น ไม่ได้ทำอยู่ตลอด ทำให้องค์กรอาจจะไม่บรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร

 

ขั้นตอนของ OKR

ความแตกต่าง, KPI, OKR, เป้าหมาย, การดำเนินงาน, ประเมินผล, ความเหมาะสม, จุดเด่น, ประยุกต์ใช้

การสร้างเครื่องมือวัดผลด้วยวิธีแบบ OKR  นั้น มีขั้นตอนดังนี้

  • กำหนดวัตถุประสงค์และผลลัพธ์ (ตัวชี้วัด) 
  • เริ่มทำได้ทันที

จุดเด่นของ OKR คือความเป็นอิสระในการนำไปสู่เป้าหมาย ไม่จำเป็นต้องทำตามวิธีการที่กำหนดไว้แบบเป๊ะๆ ทุกขั้นตอน ซึ่งส่งผลให้การดำเนินงานเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว และหากทำได้แม้จะสำเร็จหรือไม่ก็ตาม ไม่มีผลต่อการประเมินผลงานทั้งนั้น และยังเป็นวิธีที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานได้ดีเลยทีเดียว ปัจจุบันบริษัทสตาร์ทอัพส่วนมากนิยมใช้ OKR ในการกำหนดเป้าหมายงานขององค์กร

ส่วนข้อสังเกตของ OKR นั้น จะอยู่ตรงที่หากเกิดข้อผิดพลาด จะตรวจสอบได้ยากว่าเกิดขึ้นในขั้นตอนไหน ความพร้อมของพนักงานในองค์กรก็มีบทบาทสำคัญในการวัดว่าจะประสบความสำเร็จหรือไม่ และเป็นวิธีที่เหมาะสำหรับการใช้งานในองค์กรขนาดเล็ก หรือเป้าหมายที่ไม่มีความยากจนเกินไป

 

เกณฑ์ไหนเหมาะสมกับการใช้มากกว่ากัน

ความแตกต่าง, KPI, OKR, เป้าหมาย, การดำเนินงาน, ประเมินผล, ความเหมาะสม, จุดเด่น, ประยุกต์ใช้

สำหรับความเหมาะสมของแต่ละเกณฑ์นั้น ก็ต้องบอกว่าขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมในการทำงาน และขนาดของแต่ละองค์กรเลยก็ว่าได้ ซึ่งถ้าเป็นบริษัทที่มีขนาดใหญ่ และพนักงานคุ้นชินกับวิธีการทำงานแบบเดิม หรือต้องการวัดผลการทำงานของพนักงานอย่างชัดเจน ก็ควรจะเลือกใช้ KPI ในการสร้างเกณฑ์การวัดผล ส่วนถ้าเป็นองค์กรยุคใหม่ ที่ไม่กำหนดวิธีการทำงานตายตัว และเป็นองค์กรขนาดเล็กที่มีจำนวนคนไม่มากนัก ก็ควรที่จะใช้ OKR ในการตั้งเป้าหมายเพื่อวัดผลและประสิทธิภาพของพนักงานภายในองค์กร

 

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเลือกเกณฑ์ไหนก็ตามมาวัดประสิทธิภาพของพนักงานภายในองค์กร ก็ควรจะนำข้อมูลหรือประสบการณ์ที่ผ่านมา รวมไปถึงสภาพแวดล้อมในองค์กรมาประยุกต์ใช้ร่วมกับการตั้งเกณฑ์วัดผลพนักงานภายในองค์กร นำจุดเด่นของแต่ละเกณฑ์มาปรับใช้ และสร้างเกณฑ์ในการวัดผลที่มีความเหมาะสมกับพนักงานภายในองค์กร เพียงเท่านี้ก็จะสามารถทำเกณฑ์ 2 ตัวนี้ไปวัดผลได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้วครับ

 

ขอบคุณข้อมูลจาก Margetting

บทความที่เกี่ยวข้อง
  • รับคนเปลี่ยนงานบ่อยเข้าทำงานเสี่ยงไหม

    รับคนเปลี่ยนงานบ่อยเข้าทำงาน เสี่ยงไหม?

    By AI Fern | 20/05/2020

    การเปลี่ยนงานบ่อยถือเป็นเรื่องปกติธรรมดามากสำหรับชีวิตของการทำงาน แทบทุกคนล้วนแล้วแต่เคยเปลี่ยนงานมาแล้วทั้งนั้น แต่ในมุมมองขององค์กรล่ะ? เขาพร้อมเสี่ยงไหม? ที่จะเปิดรับคนที่มีประวัติเปลี่ยนงานบ่อยๆ เข้ามาทำงาน

  • ทำความรู้จัก-KPI-คืออะไรสำคัญอย่างไรกับองค์กร

    ทำความรู้จัก KPI คืออะไร? สำคัญอย่างไรกับองค์กร

    By AI Fern | 18/06/2020

    มาทำความรู้จักกับ KPI กันดีกว่าว่ามันคืออะไร? และสำคัญอย่างไรกับองค์กร? ต้องบอกเลยว่า KPI เป็นหนึ่งตัวอักษรย่อที่คนทำงานมักจะได้ยินกันบ่อยๆ เพราะทุกองค์กรย่อมต้องมีการประเมินวัดผล

  • ทำความรู้จัก OKR คืออะไร ทำไมถึงสำคัญต่อองค์กร

    ทำความรู้จัก OKR คืออะไร ทำไมถึงสำคัญต่อองค์กร

    By AI Peem | 23/06/2020

    สิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญต่อองค์กร และเป็นเครื่องมือที่สามารถทำได้ทั้งเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และสร้างเป้าหมายให้กับองค์กร นั่นก็คือ OKR ที่วันนี้เราจะพาทุกคนไปรู้จักอย่างละเอียดกันครับ

Jobs aSearcher