ควรรู้ก่อนสมัครงาน! ระหว่างงาน QA กับงาน QC ต่างกันอย่างไร?

สมัครงาน, QA QC, ต่างกันอย่างไร, Quality Assurance, Quality Control, การประกันคุณภาพ, การควบคุมคุณภา

ทำความรู้จักงาน Quality Assurance กับงาน Quality Control ก่อนสมัครงาน!

สมัครงาน, QA QC, ต่างกันอย่างไร, Quality Assurance, Quality Control, การประกันคุณภาพ, การควบคุมคุณภา

ก่อนที่เราจะไปสมัครงานในตำแหน่ง QA หรืองานในตำแหน่ง QC นั้น เราควรที่จะต้องรู้ก่อนว่าทั้งสองตำแหน่งงานนี้ต่างกันอย่างไร? แล้วแต่ละงานมีหน้าที่ทำอะไรบ้าง?

เชื่อว่าหลายคนคงต้องเคยได้ยินคำว่า QA (Quality Assurance) และ QC (Quality Control) กันมาบ้างในเรื่องของกระบวนการผลิต โดยทั้งสองตำแหน่งนี้จะทำงานในสายการผลิตเช่นเดียวกัน รวมถึงมีการทำงานที่ประสานกันอยู่ แต่หน้าที่ของทั้งสองตำแหน่งนี้ก็จะแตกต่างกันอย่างชัดเจน และต้องบอกก่อนเลยว่า QA กับ QC ของแต่ละองค์กรนั้นก็อาจจะรับผิดชอบหรือมีขอบข่ายงานที่ต่างกัน ขึ้นอยู่กับบริบท มุมมอง ข้อจำกัด หรือวัตถุประสงค์ของแต่ละองค์กรด้วย

ระหว่างงาน QA กับงาน QC ต่างกันอย่างไร?

สมัครงาน, QA QC, ต่างกันอย่างไร, Quality Assurance, Quality Control, การประกันคุณภาพ, การควบคุมคุณภา

สำหรับผู้สมัครงานหลายๆ คนที่กำลังสงสัยว่าหน้าที่ของ QA และ QC ต่างกันอย่างไร? วันนี้เรามีคำตอบมาอธิบายให้ผู้สมัครงานทุกคนเข้าใจได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น และเพื่อเป็นข้อมูลให้ผู้สมัครในการเตรียมตัวก่อนสมัครงานค่ะ

QA (Quality Assurance) หรือ การประกันคุณภาพ คืออะไร?

สมัครงาน, QA QC, ต่างกันอย่างไร, Quality Assurance, Quality Control, การประกันคุณภาพ, การควบคุมคุณภา

QA หรือ การประกันคุณภาพ คือนักวางแผนเพื่อการผลิตสินค้าหรือบริการที่ได้มาตรฐาน มีหน้าที่ในการวางแผนล่วงหน้าให้ขั้นตอนการผลิตสินค้าหรือบริการเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาต่างๆ และนำไปสู่สินค้าหรือบริการที่ตรงตามความต้องการของลูกค้าสูงสุด และเมื่อสินค้าหรือบริการผ่านการ QC (Quality Control) แล้ว ก็ต้องนำสินค้าหรือบริการมาตรวจสอบอีกครั้ง หากมีปัญหาใดๆ เกิดขึ้น QA ต้องนำมาวิเคราะห์พร้อมวางแผน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นอีก และกำหนดแนวทางในการป้องกันการเกิดปัญหาในระยะยาวด้วย ซึ่งการประกันคุณภาพนี้เป็นสิ่งที่ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าว่าจะได้รับสินค้าหรือบริการที่มีคุณภาพเท่านั้น

หน้าที่ของ QA (Quality Assurance)

สมัครงาน, QA QC, ต่างกันอย่างไร, Quality Assurance, Quality Control, การประกันคุณภาพ, การควบคุมคุณภา

QA จะปฏิบัติหน้าที่เชิงรุกโดยเน้นไปที่การวางแผนและป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาในขั้นตอนการผลิตที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด ซึ่ง QA จะเป็นผู้กำหนดกฎเกณฑ์และมาตรฐานของสินค้าหรือบริการให้ตรงกับความต้องการของลูกค้ามากที่สุด รวมถึงต้องตรวจสอบสินค้าที่ผ่านการ QC มาแล้วอีกครั้ง ซึ่งหากเกิดปัญหาในกระบวนการผลิตสินค้า QA จำเป็นต้องมองให้เห็นถึงปัญหา และทำความเข้าใจในเชิงระบบ โดยนำปัญหาของเสียหรือการเกิดตำหนิที่เกิดไปวิเคราะห์เพื่อวางแผน ป้องกันไม่ให้เกิดของเสียหรือลดจำนวนการเกิดปัญหาในระยะยาว

QC (Quality Control) หรือ การควบคุมคุณภาพ คืออะไร?

สมัครงาน, QA QC, ต่างกันอย่างไร, Quality Assurance, Quality Control, การประกันคุณภาพ, การควบคุมคุณภา

QC หรือ การควบคุมคุณภาพ คือนักปฏิบัติการเพื่อให้ได้สินค้าหรือบริการที่ตรงตามแผน มีหน้าที่ตรวจสอบสินค้าหรือบริการให้เป็นไปตามมาตรฐาน (Standard) ที่ QA ได้วางแผนและกำหนดไว้ ทั้งในด้านคุณภาพ (Quality) และปริมาณ (Quantity) โดยการควบคุมคุณภาพนี้เป็นส่วนหนึ่งของการประกันคุณภาพ (QA) และการประกันคุณภาพก็เป็นส่วนหนึ่งของระบบการบริการคุณภาพ (QMS) และระบบการบริหารคุณภาพก็เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารธุรกิจที่มีเป้าหมายเพียงหนึ่งเดียว คือ การสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า

หน้าที่ของ QC (Quality Control)

สมัครงาน, QA QC, ต่างกันอย่างไร, Quality Assurance, Quality Control, การประกันคุณภาพ, การควบคุมคุณภา

ในขณะที่ QA เป็นผู้วางแผนการทำงาน QC ก็คือผู้ปฏิบัติการที่จะต้องตรวจสอบสินค้าและผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ QA กำหนด โดย QC ต้องเป็นผู้ที่มีความละเอียดอ่อนและช่างสังเกต ต้องคัดแยกสินค้าที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานให้ได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งจำเป็นต้องใช้ความรู้และประสบการณ์เป็นอย่างมาก ต้องมีการกำกับการตรวจสอบตั้งแต่ก่อน ระหว่าง และหลังการผลิต ซึ่งมีอยู่ 5 ขั้นตอน ดังนี้

1. ตรวจสอบคุณภาพวัตถุดิบ (Raw Material) ต้องมีการตรวจสอบวัตถุดิบทุกตัวที่นำมาใช้ในการผลิต โดยวัตถุดิบทุกชิ้นจะต้องมี Certificate of Analysis ที่สามารถตรวจสอบข้อมูลของผู้นำเข้าและผู้ขายได้อย่างชัดเจน รวมถึงมีการสุ่มตรวจวัตถุดิบด้วย

2. ตรวจสอบคุณภาพบรรจุภัณฑ์ (Packaging) บรรจุภัณฑ์ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน และมีการตรวจสอบเช่นเดียวกับการตรวจสอบวัตถุดิบ แต่มีข้อแตกต่างกันเล็กน้อยด้วยการใช้หลักการ Sampling plan ที่จะสุ่มตรวจสอบบรรจุภัณฑ์ให้ได้ตามมาตรฐาน AQL (เปอร์เซ็นต์สูงสุดของผลิตภัณฑ์ที่เสียในกระบวนการผลิตที่ยอมรับได้) ที่กำหนดไว้

3. ตรวจสอบคุณภาพเนื้อผลิตภัณฑ์ (Bulk) แบ่งการทดสอบเป็น 2 ลักษณะ คือ

- Physical Chemical Testing คือ การทดสอบทางกายภาพและทางเคมีของเนื้อผลิตภัณฑ์ ซึ่งประกอบด้วย ลักษณะภายนอก (Appearance), สี (Color), กลิ่น (Odor), ความเป็นกรด-ด่าง (pH) และความเข้มข้นของผลิตภัณฑ์ (Viscosity)
- Microbiology Testing คือ การทดสอบเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และเชื้อก่อโรคต่างๆ ตามที่กฎหมายกำหนด โดยส่งตรวจที่ห้องปฏิบัติการที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO17025

4. ตรวจสอบคุณภาพระหว่างการผลิต มีตำแหน่งเฉพาะเรียกว่า QC Line ทำหน้าที่ในการตรวจสอบไลน์การผลิตผลิตภัณฑ์ เช่น การสุ่มตรวจก่อนเริ่มไลน์ 10 ชิ้นแรก และดำเนินการสุ่มตรวจผลิตภัณฑ์ในไลน์ทุกชั่วโมง หรือตรวจดูการติดสติกเกอร์ การใส่กล่อง และอื่นๆ ว่าตรงตามมาตรฐานหรือไม่ เพื่อป้องกันการผิดพลาดขณะทำงาน

5. ตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป (Finish Good) เป็นการตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ด้วยวิธีการสุ่มตรวจว่าผลิตภัณฑ์ที่สำเร็จรูปแล้วเป็นไปตามมาตรฐานหรือไม่ รวมถึงมีการเก็บ Retain Sample เพื่อนำมาตรวจสอบภายหลังอีกครั้ง

ขอบคุณข้อมูลจาก jobsDB

บทความที่เกี่ยวข้อง
Jobs aSearcher