สิทธิประโยชน์ที่ลูกจ้างควรรู้! เมื่อถูกเลิกจ้างกะทันหัน

สิทธิประโยชน์, ถูกเลิกจ้าง, กะทันหัน, ลูกจ้าง, ตกงาน, ไม่ทันตั้งตัว, เงินชดเชย, ออกจากงาน, เลิกจ้าง

สิทธิประโยชน์ที่ลูกจ้างควรรู้! กรณีโดนเลิกจ้าง

สิทธิประโยชน์, ถูกเลิกจ้าง, กะทันหัน, ลูกจ้าง, ตกงาน, ไม่ทันตั้งตัว, เงินชดเชย, ออกจากงาน, เลิกจ้าง

ลูกจ้างควรรู้ไว้! จะได้รับสิทธิประโยชน์อะไรบ้างเมื่อถูกเลิกจ้างกะทันหัน ทำให้ตกงานแบบไม่ทันตั้งตัว นายจ้างจะต้องจ่ายเงินชดเชยเท่าไหร่?

เนื่องจากการตกงานเป็นสิ่งที่ลูกจ้างทุกคนคงไม่อยากเจอ ยิ่งเป็นการตกงานแบบไม่ทันตั้งตัวด้วยแล้ว ถ้าหากลูกจ้างคนไหนต้องเจอกับเหตุการณ์แบบนี้ สิ่งที่ควรทำเป็นอย่างแรกเลยก็คือการรักษาผลประโยชน์ที่ตัวเองควรจะได้รับนั่นเองค่ะ

ถูกเลิกจ้างกะทันหันทำอย่างไรดี?

สิทธิประโยชน์, ถูกเลิกจ้าง, กะทันหัน, ลูกจ้าง, ตกงาน, ไม่ทันตั้งตัว, เงินชดเชย, ออกจากงาน, เลิกจ้าง

สิทธิประโยชน์อะไรบ้างที่ลูกจ้างจะได้รับเมื่อถูกเลิกจ้างกะทันหัน วันนี้เราได้รวบรวมข้อมูลมาฝาก เพราะมันเป็นสิ่งที่ลูกจ้างทุกคนควรรู้ จะมีอะไรบ้างนั้น ไปอ่านกันเลย!

ถูกเลิกจ้างแบบไหน ถึงจะได้เงินชดเชย?

สิทธิประโยชน์, ถูกเลิกจ้าง, กะทันหัน, ลูกจ้าง, ตกงาน, ไม่ทันตั้งตัว, เงินชดเชย, ออกจากงาน, เลิกจ้าง

ลูกจ้างจะได้รับเงินชดเชยจากการเลิกจ้างจากนายจ้าง เมื่อทำงานครบ 120 วัน เป็นอย่างน้อย และถูกให้ออกจากงานทั้งที่ไม่ได้สมัครใจ ไม่ว่านายจ้างจะแจ้งล่วงหน้าหรือไม่ก็ตาม แต่มีข้อแม้ว่า ลูกจ้างต้องไม่ได้ทำผิด หรือถูกให้ออกจากงานด้วยสาเหตุดังต่อไปนี้

- ลาออกเองโดยสมัครใจ
- ทุจริตต่อนายจ้าง หรือทำความผิดอาญา
- จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
- ประมาทเลินเล่อจนทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
- ฝ่าฝืนระเบียบการทำงาน โดยที่นายจ้างได้ออกหนังสือเตือนไปแล้ว
- ละทิ้งการทำงานติดต่อกัน 3 วัน โดยไม่มีเหตุอันควร
- ได้รับโทษจำคุก ตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
- สัญญาจ้างงานมีกำหนดระยะเวลาไว้แน่นอน

หากถูกเลิกจ้างด้วยสาเหตุดังที่กล่าวมา จะไม่ได้รับเงินชดเชยตามที่กฎหมายระบุไว้

ถูกเลิกจ้างกะทันหัน ได้เงินชดเชยเท่าไหร่?

สิทธิประโยชน์, ถูกเลิกจ้าง, กะทันหัน, ลูกจ้าง, ตกงาน, ไม่ทันตั้งตัว, เงินชดเชย, ออกจากงาน, เลิกจ้าง

การถูกเลิกจ้างกะทันหัน ตามกฎหมายแล้วจะได้เงินชดเชย 2 อย่างจากนายจ้าง คือ ค่าชดเชยถูกเลิกจ้าง และค่าบอกกล่าวล่วงหน้า โดยมีรายละเอียดและเงื่อนไข ดังนี้

1. ค่าชดเชยถูกเลิกจ้าง

ได้รับเมื่อถูกให้ออกจากงานโดยไม่สมัครใจและไม่มีความผิดใดๆ สำหรับเงินชดเชยที่ได้จะขึ้นอยู่กับเงินเดือนและอายุงาน

- ทำงานติดต่อกันครบ 120 วัน แต่ไม่ถึง 1 ปี ได้รับเงินชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน (1 เดือน)
- ทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี แต่ไม่ถึง 3 ปี ได้รับเงินชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน (3 เดือน)
- ทำงานติดต่อกันครบ 3 ปี แต่ไม่ถึง 6 ปี ได้รับเงินชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน (6 เดือน)
- ทำงานติดต่อกันครบ 6 ปี แต่ไม่ถึง 10 ปี ได้รับเงินชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 240 วัน (8 เดือน)
- ทำงานติดต่อกันครบ 10 ปีขึ้นไป ได้รับเงินชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน (10 เดือน)
- ทำงานติดต่อกันครบ 20 ปีขึ้นไป ได้รับเงินชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 400 วัน

2. ค่าบอกกล่าวล่วงหน้า

การเลิกจ้างโดยลูกจ้างไม่ได้สมัครใจ แถมยังมีเซอร์ไพรส์ไม่บอกล่วงหน้าอีกด้วย ถ้าเป็นแบบนี้จะได้เงินค่าบอกกล่าวล่วงหน้า หรือที่เรียกกันว่า "ค่าตกใจ" เพิ่มเติมด้วย ตามกรณีดังต่อไปนี้

- กรณีเลิกจ้างทั่วไป
กำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้า 1 งวดของการจ่ายค่าจ้าง หมายความว่า ถ้าได้ค่าจ้างเป็นเงินเดือนรอบละ 30 วัน นายจ้างจะต้องแจ้งเลิกจ้างเป็นลายลักษณ์อักษรให้ทราบอย่างน้อย 30 วัน ไม่เช่นนั้น จะต้องจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้า 1 เดือน หรือถ้าได้รับค่าจ้างเป็นรายสัปดาห์ ก็ต้องแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วัน ไม่เช่นนั้น จะต้องจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับ 7 วัน

- กรณีเลิกจ้าง เพราะการปรับปรุงหน่วยงาน กระบวนการผลิต การจำหน่าย หรือการบริการ เนื่องมาจากนำเครื่องจักรมาใช้หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักร เปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี จนต้องลดจำนวนลูกจ้างลง
ต้องแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 60 วัน หากลูกจ้างไม่ได้รับแจ้ง จะได้เงินชดเชยแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 60 วัน (2 เดือน)

อีกทั้ง หากลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบ 6 ปีขึ้นไป จะมีสิทธิได้รับเงินชดเชยพิเศษเพิ่มอีก ไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 15 วัน ต่อการทำงานครบ 1 ปี (รวมแล้วต้องไม่เกินค่าจ้างอัตราสุดท้าย 360 วัน)

- กรณีเลิกจ้าง เพราะย้ายสถานประกอบกิจการ
ต้องแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วัน หากลูกจ้างไม่ได้รับแจ้ง จะได้รับเงินชดเชยแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน (1 เดือน)

หรือหากมีการบอกล่วงหน้าถูกต้อง แต่ลูกจ้างไม่ต้องการย้ายไปทำงานที่ใหม่ด้วย ก็ยังมีสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่า 50% ของค่าชดเชยถูกเลิกจ้างที่มีสิทธิได้รับ

เงินชดเชยถูกเลิกจ้าง จะได้รับตอนไหน?

สิทธิประโยชน์, ถูกเลิกจ้าง, กะทันหัน, ลูกจ้าง, ตกงาน, ไม่ทันตั้งตัว, เงินชดเชย, ออกจากงาน, เลิกจ้าง

ปกติแล้วนายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้างภายในวันสุดท้ายที่ทำงาน แต่หากถึงตอนนั้นแล้วยังไม่ได้เงินชดเชยดังกล่าว ลูกจ้างสามารถยื่นร้องเรียนต่อพนักงานตรวจแรงงาน ได้ที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในแต่ละจังหวัด ส่วนกรุงเทพฯ ยื่นได้ที่กลุ่มงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เนื่องจากถือว่าเป็นการเข้าข่ายการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม

โดนเลิกจ้างกะทันหัน ประกันสังคมช่วยอะไรบ้าง?

สิทธิประโยชน์, ถูกเลิกจ้าง, กะทันหัน, ลูกจ้าง, ตกงาน, ไม่ทันตั้งตัว, เงินชดเชย, ออกจากงาน, เลิกจ้าง

สำหรับลูกจ้างที่มีสิทธิประกันสังคม จะได้รับเงินช่วยเหลือกรณีว่างงานจากประกันสังคมอีกด้วย หากจ่ายเงินสมทบมาแล้ว 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนการว่างงาน โดยจะต้องรีบไปขึ้นทะเบียนหางาน ณ สำนักจัดหางานของรัฐ ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ถูกเลิกจ้าง และยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานได้ที่สำนักงานประกันสังคม

โดยเงินช่วยเหลือที่ได้รับ จะเป็นเงินทดแทนระหว่างว่างงานปีละไม่เกิน 180 วัน ในอัตรา 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย ซึ่งคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท เช่น เงินเดือน 10,000 บาท จะได้รับเงินช่วยเหลือเดือนละ 5,000 บาท หรือถ้าเรามีเงินเดือนเฉลี่ยสูงกว่า 15,000 บาท ก็จะได้รับเงินช่วยเหลือที่อัตราสูงสุด คือ 7,500 บาท เป็นเวลา 6 เดือน

ขอบคุณข้อมูลจาก KAPOOK

บทความที่เกี่ยวข้อง
  • 9-เทคนิควิธีพูดเพื่อเอาชนะใจผู้ฟัง

    9 เทคนิควิธีพูดเพื่อเอาชนะใจผู้ฟัง

    By AI Fern | 29/07/2020

    คงไม่มีใครที่จะมีวิธีพูดให้ชนะใจผู้ฟังได้เก่งมาตั้งแต่เกิดหรอก ทุกคนต่างก็ต้องฝึกฝนกว่าจะเชี่ยวชาญและสามารถพูดโน้มน้าวใจคนได้ก็ต้องใช้เวลานานพอสมควร ซึ่งมันก็ขึ้นอยู่กับการฝึกฝนว่าจะขยันและมีความพยายามมากแค่ไหน

  • เช็คด่วนปวดหลังตรงไหนเป็นโรคอะไรและมีอาการอย่างไรบ้าง

    เช็คด่วน! ปวดหลังตรงไหน เป็นโรคอะไร? และมีอาการอย่างไรบ้าง?

    By AI Fern | 25/07/2020

    ปวดหลังตรงไหน เป็นโรคอะไร? และมีอาการอย่างไรบ้าง? ถ้าให้อธิบายความหมายแบบง่ายๆ การปวดหลังก็คือ อาการปวดเมื่อย ตึง ร้าว หรือเจ็บที่หลัง สามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่บริเวณคอลงไปจนถึงก้นและขา มีสาเหตุมาจากหลายๆ ปัจจัย

  • สัญญาณเตือนที่บอกว่าคุณเป็นโรคบ้างาน

    สัญญาณเตือนที่บอกว่าคุณเป็น "โรคบ้างาน"

    By AI Fern | 30/07/2020

    สัญญาณเตือนที่บ่งบอกว่าคุณเป็น "โรคบ้างาน" อาการเริ่มต้นที่สังเกตได้ก็จะมีอาการปวดหัว ปวดหลัง ปวดไหล่ ปวดท้ายทอย สายตาพร่ามัว ปวดกล้ามเนื้อตา ซึ่งจะส่งผลเสียต่อร่างกายจนกลายเป็นสาเหตุของโรคต่างๆ ตามมา

Jobs aSearcher