อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์คืออะไร และมีอะไรบ้าง?

อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์คืออะไรและมีอะไรบ้าง

อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

เป็นอุปกรณ์ที่ควบคุมหรือออกแบบการไหลของกระแสไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้า โดยมีชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนประกอบ จะทำหน้าที่ควบคุมการไหลของกระแสไฟฟ้า สรุปง่ายๆ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ คือ อุปกรณ์ที่สามารถใช้งานได้ก็ต่อเมื่อมีการไหลผ่านของกระแสไฟฟ้า เมื่อกระแสไฟฟ้าผ่านชิ้นส่วนของอิเล็กทรอนิกส์แล้ว ก็จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางใดทางหนึ่ง เช่น มีขนาดของกระแสไฟฟ้าลดลง หรือมีขนาดความต่างศักย์เปลี่ยนแปลงไป โดยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ มีอะไรบ้างนั้น ตามเราไปอ่านทำความเข้าใจแบบง่ายๆ กันเลยดีกว่าค่ะ

ใครจะไปคิดล่ะคะว่าอิเล็กทรอนิกส์พื้นฐานนั้น มันจะอยู่ใกล้ๆ รอบตัวเราทุกคนได้มากขนาดนี้ โดยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในชีวิตประจำวัน ที่อยู่รอบตัวเรานั้นก็คือเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ นั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ ตู้เย็น โทรทัศน์ เครื่องซักผ้า เครื่องดูดฝุ่น ฯลฯ ซึ่งเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมดที่ได้กล่าวมาข้างต้นนี้ ล้วนแล้วแต่เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในบ้านที่เราทุกคนต่างก็รู้จักคุ้นเคยกันดี และจำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวันกันทั้งสิ้น โดยชุดเครื่องมือช่างอิเล็กทรอนิกส์ที่เราควรรู้จัก ประกอบไปด้วย

มัลติมิเตอร์

1. มัลติมิเตอร์ (Mutimeter) เป็นเครื่องมือวัดที่มีประโยชน์มาก เพียงแค่เราปรับหมุนสวิตซ์ก็สามารถตั้งเป็นโวลต์มิเตอร์ แอมมิเตอร์ หรือโอห์มมิเตอร์ ซึ่งแต่ละแบบก็สามารถเลือกพิสัยการวัดได้หลายระยะ และเลือกไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ไฟฟ้ากระแสตรง (DC) บางชนิดมีคุณสมบัติการวัดเพิ่มเติม เช่น วัดค่าความจุ วัดความถี่ และทดสอบทรานซิสเตอร์ เป็นต้น

แอมมิเตอร์

2. แอมมิเตอร์ (Ammeter) เป็นเครื่องมือวัดที่ใช้วัดกระแสไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้า โดยนำแอมมิเตอร์มาต่ออนุกรมกับวงจรไฟฟ้า ซึ่งสามารถวัดไฟฟ้ากระแสตรงได้

โวลต์มิเตอร์

3. โวลต์มิเตอร์ (Voltmeter) เป็นเครื่องมือวัดที่ใช้วัดความต่างศักย์ไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้า โดยนำโวลต์มิเตอร์มาต่อขนานกับวงจรไฟฟ้า ซึ่งสามารถวัดไฟฟ้ากระแสตรงได้

ตัวต้านทาน

4. ตัวต้านทาน (Resistor) เป็นอุปกรณ์ทำหน้าที่ต้านทานการไหลของกระแสไฟฟ้าโดยใช้ได้ทั้งไฟฟ้ากระแสตรงและไฟฟ้ากระแสสลับ ถ้าความต้านทานมากกระแสไฟฟ้าก็จะไหลผ่านตัวต้านทานได้น้อย แต่ถ้าความต้านทานน้อยกระแสไฟฟ้าก็จะไหลผ่านตัวต้านทานได้มาก

ตัวเก็บประจุ

5. ตัวเก็บประจุ (Capacitor or Condenser) มีคุณสมบัติในการเก็บประจุไฟฟ้า ซึ่งเกิดจากการที่มีแผ่นโลหะสองแผ่นวางอยู่ใกล้ๆ กัน แต่ไม่แตะถึงกัน โดยมีแผ่นไดอิเล็กตริก ซึ่งมีลักษณะเป็นฉนวนกั้นอยู่ระหว่างแผ่นโลหะทั้งสองแผ่น

ไดโอด

6. ไดโอด (Diode) ทำมาจากสารกึ่งตัวนำ มีขนาดเล็ก มีขั้วต่อออกมาใช้งาน 2 ขั้ว มีคุณสมบัติยอมให้กระแสไฟฟ้าผ่านได้ทางเดียวเมื่อป้อนแรงดันไฟฟ้าตรงขั้ว และจะไม่ยอมให้กระแสไฟฟ้าผ่านได้เมื่อป้อนแรงดันไฟฟ้ากลับขั้ว

ทรานซิสเตอร์

7. ทรานซิสเตอร์ (Transistor) เป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำชนิด 3 ตอนต่อชนกัน โดยใช้สารกึ่งตัวนำชนิด P และชนิด N ทรานซิสเตอร์ต้องสร้างให้ตัวนำตอนกลางแคบที่สุด มีขาต่อออกมาใช้งาน 3 ขา

ลำโพง

8. ลำโพง (Speaker) มีหน้าที่ในการเปลี่ยนสัญญาณเสียงในรูปของพลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังงานเสียงที่หูเราสามารถรับรู้ได้

แผงทดลองวงจร

9. แผงทดลองวงจร (Project Board) เป็นพื้นที่ทดลองเสียบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น สะดวก รวดเร็ว ก่อนนำไปใช้งานจริง โดยไม่ต้องอาศัยหัวแร้งในการบัดกรี

วงจรแผ่นพิมพ์

10. วงจรแผ่นพิมพ์ (Printed Circuit Boards) วงจรแผ่นพิมพ์หรือแผ่นปริ้นท์ เป็นแผ่นพลาสติกที่ผิวด้านหนึ่งถูกเคลือบด้วยแผ่นทองแดงบาง เพื่อใช้ทำลายพิมพ์วงจรและทำให้เกิดวงจรขึ้นมา ใช้เป็นลายตัวนำในการเชื่อมต่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เข้าด้วยกัน เกิดเป็นวงจรต่างๆ ตามต้องการ

หม้อแปลง

11. หม้อแปลง (Transformer) มีลักษณะเป็นขดลวดทองแดงอาบน้ำยาที่พันอยู่บนแกนตั้งแต่ 2 ชุดขึ้นไป ทำหน้าที่ผ่านแรงดันไฟฟ้า จากขดลวดชุดหนึ่งไปยังอีกชุดหนึ่งโดยการเหนี่ยวนำทางเส้นแรงแม่เหล็กไฟฟ้า

หัวแร้ง

12. หัวแร้ง (Electric Soldering) เป็นเครื่องมือที่เปลี่ยนแรงดันไฟฟ้าให้เป็นพลังงานความร้อน เพื่อใช้ในการเชื่อมหรือถอดอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์เรียกว่า การบัดกรี

วงจรรวมIC

13. วงจรรวม IC (Integrated Circuit) เป็นอุปกรณ์รวมการทำงานของทรานซิสเตอร์ ไดโอด รีซิสเตอร์ และอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำอื่นๆ เข้ารวมเป็นชิ้นเดียวกัน และมีขาออกมาภายนอกสำหรับป้อนแหล่งจ่าย มีหลายชนิดแล้วแต่หน้าที่การทำงาน

แบตเตอรี่

14. แบตเตอรี่ (Battery) เป็นแหล่งพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง เป็นเซลล์ไฟฟ้าที่ใช้พลังงานหมดแล้ว ไม่สามารถนำมาประจุใหม่ได้อีก การสร้างแบตเตอรี่โดยการนำแผ่นทองแดงและแผ่นสังกะสีจุ่มลงในน้ำยาอิเล็กโทรไลต์ทำให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมี

เมื่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พื้นฐานได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงเป็นสาเหตุให้มีขยะอิเล็กทรอนิกส์เกิดขึ้นจำนวนมาก ซึ่งขยะอิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง ซากเครื่องใช้หรืออุปกรณ์ ที่ใช้กระแสไฟฟ้าหรือสนามแม่เหล็กในการ ทำงานที่ไม่ได้ตามมาตรฐาน หรือหมดอายุการใช้งาน หรือล้าสมัยแล้วนั่นเองค่ะ ยกตัวอย่างเช่น ตู้เย็น เครื่องซักผ้า เครื่องดูดฝุ่น เตารีด คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ โทรทัศน์ หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ เกมส์บอยส์ สว่าน เลื่อยไฟฟ้า ฯลฯ โดยขยะทั้งหมดนี้เป็นขยะที่อันตรายอาจจะมีสารเคมีรั่วไหลออกมาจนก่อให้เกิดมลพิษกับสิ่งแวดล้อมได้ หากไม่มีการหาวิธีการกำจัดที่ดีมากพอ

เอาล่ะค่ะเราก็ได้ทำความรู้จัก และทำความเข้าใจเกี่ยวกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ว่ามันคืออะไร และมีอะไรบ้าง? กันมามากพอสมควรแล้ว ตอนนี้เรามาดูอาชีพที่เกี่ยวข้องกับอิเล็กทรอนิกส์กันบ้างดีกว่าค่ะ ว่าจะมีอาชีพอะไรที่น่าสนใจบ้าง?

1. ช่างซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น เตารีด พัดลม เครื่องดูดฝุ่น เป็นต้น
2. ช่างซ่อมเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ เป็นต้น
3. ช่างซ่อมโทรศัพท์ เดินระบบโทรศัพท์ ติดตั้งตู้สาขาโทรศัพท์
4. ช่างติดตั้งจานรับสัญญาณดาวเทียว ซ่อมบำรุงและลงโปรแกรม
5. ช่างประกอบ ซ่อม ติดตั้งระบบเสียง และงานปรับแต่งระบบเสียง
6. งานลงโปรแกรม ประกอบและซ่อมเครื่องคอมพิวเตอร์ โน๊ตบุ๊ค
7. งานเดินระบบและแก้ปัญหาเครือข่ายคอมพิวเตอร์
8. งานเขียนโปรแกรมควบคุมไมโครคอนโทรลเลอร์ เช่น วงจรไฟวิ่ง โปรแกรมหุ่นยนต์ เป็นต้น
9. งานรับออกแบบแผ่นวงจรพิมพ์
10. งานติดตั้งระบบสายอากาศวิทยุและโทรทัศน์
11. งานออกแบบด้านผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์
12. จำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส

บทความที่เกี่ยวข้อง
Jobs aSearcher