รวมขั้นตอนและวิธีการกู้ซื้อคอนโดอย่างละเอียดฉบับมนุษย์เงินเดือน

ขั้นตอน, กู้ซื้อคอนโด, มนุษย์เงินเดือน, โครงการ, คอนโด, เงินเดือน, สินเชื่อ, เครดิตบูโร

รวมขั้นตอนกู้เงินซื้อคอนโด!

ขั้นตอน, กู้ซื้อคอนโด, มนุษย์เงินเดือน, โครงการ, คอนโด, เงินเดือน, สินเชื่อ, เครดิตบูโร

คงต้องบอกเลยว่าในปัจจุบันคอนโดหรือคอนโดมิเนียมคือที่อยู่อาศัยที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในสังคมคนเมือง แต่ลำพังแค่เงินเดือนในแต่ละเดือนอาจจะไม่เพียงพอต่อการซื้อคอนโดด้วยเงินสด ทำให้การกู้ซื้อคอนโดเป็นทางเลือกที่จะทำให้มนุษย์เงินเดือนมีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง และสำหรับมนุษย์เงินเดือนที่ต้องการจะกู้ซื้อคอนโดก็จะต้องรู้ขั้นตอนต่างๆ อย่างละเอียดอีกด้วย

คอนโดคือที่อยู่อาศัยที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในสังคมคนเมืองโดยเฉพาะในเมืองใหญ่หรือย่านธุรกิจที่มีพื้นที่จำกัด เพราะถึงแม้พื้นที่ใช้สอยของคอนโดจะมีไม่มากนัก แต่จุดเด่น คือ ระบบการจัดการ ระบบความปลอดภัย ความสะดวกสบาย การคมนาคมที่ดีเยี่ยม เดินทางสะดวก ใกล้รถไฟฟ้า ฯลฯ อีกทั้งยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่รวมกันอยู่ในคอนโด เช่น สระว่ายน้ำ ฟิตเนส เป็นต้น นอกจากนี้ระดับราคาของคอนโดยังมีให้เลือกหลากหลาย ซึ่งหลายโครงการก็มีราคาถูกกว่าบ้านเดี่ยว ดังนั้น มนุษย์เงินเดือนส่วนใหญ่จึงหันมาสนใจกู้ซื้อคอนโดกันมากขึ้น

วิธีการกู้ซื้อคอนโดอย่างละเอียดฉบับมนุษย์เงินเดือน!

ขั้นตอน, กู้ซื้อคอนโด, มนุษย์เงินเดือน, โครงการ, คอนโด, เงินเดือน, สินเชื่อ, เครดิตบูโร

กว่าที่มนุษย์เงินเดือนจะมีคอนโดสักห้องหนึ่งได้นั้น จะมีขั้นตอนและวิธีการกู้ซื้อคอนโดอย่างไรบ้าง? พวกเขาจะต้องเตรียมเงิน เตรียมใจ และเตรียมแรงมากแค่ไหน? เรามาดูกันดีกว่าว่าตั้งแต่เริ่มต้นไปจนถึงผ่านการอนุมัติสินเชื่อ มนุษย์เงินเดือนจะต้องเจอกับอะไรกันบ้าง?

1. พิจารณาความน่าเชื่อถือของโครงการคอนโด

ขั้นตอน, กู้ซื้อคอนโด, มนุษย์เงินเดือน, โครงการ, คอนโด, เงินเดือน, สินเชื่อ, เครดิตบูโร

การจะซื้อคอนโดนั้นแตกต่างจากการซื้อบ้าน เพราะโดยส่วนใหญ่แล้วโครงการคอนโดจะเปิดให้จองห้องก่อนที่จะเริ่มก่อสร้าง ดังนั้น จึงยังมีความเสี่ยงที่คอนโดจะสร้างไม่เสร็จหรือมีเหตุการณ์ไม่คาดคิดเกิดขึ้นได้ เมื่อต้องการกู้สินเชื่อมาซื้อคอนโด ธนาคารจำเป็นต้องประเมินความน่าเชื่อถือของโครงการเพื่อให้มั่นใจว่าโครงการจะเสร็จได้จริง ซึ่งวิธีการอย่างง่ายในการดูว่าโครงการคอนโดของผู้ประกอบการใดน่าเชื่อถือ ก็ดูจากโครงการที่เคยก่อสร้างมาแล้ว หรือหากเป็นโครงการที่มีชื่อเสียง ส่วนมากจะมีระบบการจัดการที่ดีตั้งแต่แรกอยู่แล้ว นอกจากนี้ อีกสิ่งที่จะทำให้ธนาคารปล่อยสินเชื่อให้ง่ายขึ้นก็คือ "ทำเล" ถ้าคอนโดที่คุณต้องการอยู่ในทำเลที่ดี คาดว่าอย่างไรก็มีคนต้องการ ธนาคารก็มั่นใจได้ว่าจะไม่ขาดทุนเพราะสามารถขายทอดตลาดได้ ทั้งนี้ สำหรับบางธนาคารและบางโครงการก่อสร้างคอนโดอาจทำสัญญาร่วมมือกันตั้งแต่ขั้นตอนการจองคอนโดเพื่ออำนวยความสะดวกในการซื้อ-ขาย และกู้ รวมทั้งอาจให้วงเงินที่สูงได้มากถึง 100% ของราคาคอนโด

2. เงินจอง คือเงินก้อนแรกที่จะต้องจ่าย

ขั้นตอน, กู้ซื้อคอนโด, มนุษย์เงินเดือน, โครงการ, คอนโด, เงินเดือน, สินเชื่อ, เครดิตบูโร

เมื่อเลือกคอนโดที่ถูกใจได้แล้ว และตั้งใจที่จะซื้อที่นี่จริงๆ เงินก้อนแรกที่คุณจะต้องจ่ายคือเงินจอง ซึ่งค่าจองก็จะขึ้นอยู่กับแต่ละที่ โดยส่วนใหญ่แล้วจะเริ่มต้นที่ 10,000 บาท สำหรับโครงการที่เสร็จแล้วพร้อมอยู่ แต่สำหรับโครงการที่ยังไม่เสร็จหรืออยู่ในช่วงพรีเซล ก็จะมีการทำสัญญาเพื่อผ่อนดาวน์ ซึ่งตรงนี้จะยังไม่สามารถทำเรื่องกู้สินเชื่อธนาคารได้ จะเป็นการจ่ายให้กับทางโครงการโดยตรง เงินจำนวนนี้จึงไม่มีอัตราดอกเบี้ย ทั้งนี้อยากให้คุณดูสัญญาให้ดีๆ เพราะในบางโครงการจะระบุเอาไว้ว่า ถ้ากู้ไม่ผ่านหรือโครงการเสร็จล่าช้าจะคืนเงินหรือชดใช้ค่าเสียหายให้ด้วย

3. เงินเดือนเท่านี้ ผ่อนคอนโดเดือนละเท่าไหร่? กู้ซื้อคอนโดราคาเท่าไหร่ได้บ้าง?

ขั้นตอน, กู้ซื้อคอนโด, มนุษย์เงินเดือน, โครงการ, คอนโด, เงินเดือน, สินเชื่อ, เครดิตบูโร

ข้อมูลปัจจุบันจะคิดง่ายๆ จะตกหมื่นละล้าน เช่น ถ้าเงินเดือนเรา 15,000 บาท ก็จะกู้ได้ประมาณ 1.5 ล้านบาท นี่คือมูลค่าที่กู้ได้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเป็นมูลค่าที่เหมาะสมต่อการผ่อน เนื่องจากการผ่อนจะตกอยู่ที่ล้านละ 7,000 บาท หมายความว่า ถ้าคอนโดราคา 1 ล้านบาท ต้องผ่อน 7,000 บาทต่อเดือน ราคา 2 ล้านบาท ต้องผ่อน 14,000 บาทต่อเดือน เป็นต้น หากซื้อคอนโดในราคาเต็มพิกัด ความสามารถของเงินเดือนเลยอาจจะตึงเกินไป คนส่วนใหญ่จึงนิยมที่จะใช้ 1 ใน 3 ของเงินเดือนเป็นความสามารถในการผ่อน เช่น เงินเดือน 15,000 บาท 1 ใน 3 ของเงินเดือนคือ 5,000 บาท สามารถกู้ซื้อคอนโดได้ในราคา 770,000 บาท

4. ยื่นเรื่องกู้สินเชื่ออย่างไรให้ผ่านง่าย ด้วยวิธีง่ายๆ ในการสร้างเครดิต

ขั้นตอน, กู้ซื้อคอนโด, มนุษย์เงินเดือน, โครงการ, คอนโด, เงินเดือน, สินเชื่อ, เครดิตบูโร

ทางที่ดีที่สุดของการยื่นกู้แล้วผ่านได้ง่ายๆ คือต้องไม่มีหนี้ค้างชำระปรากฏในฐานข้อมูลเครดิตบูโรเลย และข้อมูลเครดิตบูโรของคุณก็ไม่ควรมีประวัติด่างพร้อยด้วย การที่จะยื่นกู้แล้วผ่านได้ง่ายจึงต้องเตรียมตัวตามขั้นตอนดังนี้

4.1 มีข้อมูลในเครดิตบูโร หมายความว่าคุณต้องเคยยื่นกู้อะไรสักอย่างกับสถาบันการเงิน ได้รับการอนุมัติ ชำระตรงทุกงวด และควรชำระหนี้นั้นจนหมดไปแล้ว หรือถ้าจะให้ง่ายที่สุดคือต้องมีบัตรเครดิตสักใบหนึ่ง มีการใช้จ่ายทุกเดือนเป็นเวลาอย่างต่ำ 6 เดือน และทุกเดือนควรจ่ายเต็มวงเงิน ไม่จ่ายขั้นต่ำ เพราะการมีหนี้คงค้าง ธนาคารจะนำหนี้เหล่านั้นไปคิดด้วย ส่วนสาเหตุที่ต้องมีข้อมูลการชำระหนี้ปรากฏในเครดิตบูโรนั้น เป็นเพราะว่าธนาคารจะทราบภาระหนี้ของคุณได้จากเครดิตบูโรเพียงอย่างเดียว และข้อมูลเหล่านี้จะบ่งบอกถึงวินัยในการชำระหนี้ด้วย

4.2 หากจ่ายบัตรเครดิตไม่เต็มวงเงิน หรือจ่ายขั้นต่ำบ่อยๆ แต่สามารถจ่ายเต็มได้ในงวดล่าสุด ในกรณีที่ต้องการยื่นกู้สินเชื่อคอนโดเลย แนะนำให้ยกเลิกบัตรไปก่อน และรอ 30-45 วัน จึงยื่นกู้ เนื่องจากต่อให้ในงวดสุดท้ายเราชำระเต็ม แต่ธนาคารจะมองย้อนหลังไป 6 เดือน และนำหนี้คงค้างใน 6 เดือนนั้นมาคิดรวมกับความสามารถในการผ่อนชำระด้วย การปิดบัตรไปเลยจะทำให้ธนาคารเห็นสถานะว่าบัตรถูกปิด และไม่นำข้อมูลบัตรเครดิตมาคิด แต่ถ้าหากยังต้องการใช้บัตรเครดิตอยู่ หลังจากที่ธนาคารอนุมัติแล้ว สามารถเปิดบัตรเครดิตได้ทันที เพราะบัตรเครดิตเองจะมีกระบวนการยื่นขอตรวจเครดิตบูโรซึ่งในช่วงก่อน 30 วัน หลังจากที่ธนาคารอนุมัติสินเชื่อคอนโด เครดิตบูโรจะยังไม่อัปเดตและสินเชื่อบัตรเครดิตก็ยังมองไม่เห็นข้อมูลนี้เช่นกัน

4.3 ผ่อนของให้หมดก่อนยื่นกู้ การผ่อนของอะไรก็ตามแม้ว่าจะ 3 เดือน 6 เดือน หรือ 10 เดือน โดยเฉพาะผ่านบัตรเครดิต ยอดของการผ่อนในแต่ละงวดธนาคารจะนำมาคิดด้วย เช่น ผ่อนของเดือนละ 2,000 บาท ธนาคารจะนำไปลบจากวงเงินกู้ของเรา จากกู้ได้ 1.5 ล้าน ก็จะเหลือ 1.3 ล้าน ดังนั้นก่อนยื่นกู้สินเชื่อควรผ่อนของให้หมดก่อน หรือโทรคุยกับบัตรเครดิตเพื่อขอชำระยอดผ่อนของทั้งหมดก็ได้ อย่างไรก็ตามเมื่อคุณไม่เหลือยอดผ่อนของแล้ว อาจจะต้องรอประมาณ 30-45 วัน หลังจากนั้น เพื่อให้ข้อมูลปรากฏบนเครดิตบูโร

4.4 ติด Black list ลองคุยกับธนาคารที่ยื่นกู้ ปกติแล้วคนที่มีประวัติการติด Black list จะต้องรอประมาณ 2 ปี เพื่อให้ประวัตินั้นหายไปจากฐานข้อมูลเครดิตบูโร แต่จริงๆ แล้วหากคุณมั่นใจในความสามารถในการผ่อนชำระและฐานะทางการเงิน สามารถเข้าไปขอคุยกับธนาคารเพื่อเตรียมตัวและให้ธนาคารพิจารณาเป็นเคสๆ ไปได้เช่นกัน ซึ่งมีลูกค้าหลายคนที่ติด Black list แต่ก็ยังสามารถกู้สินเชื่อคอนโดผ่านได้อยู่ไม่น้อย

4.5 เป็นผู้ค้ำประกันให้บุคคลอื่น จะไม่มีผลจนกว่าผู้กู้ที่คุณค้ำให้จะผิดสัญญา จ่ายไม่ตรงเวลา หรือติด Black list การเป็นผู้ค้ำประกันค่อนข้างเสี่ยงมาก เพราะเป็นตัวแปรที่คุณควบคุมได้ยาก ถ้าผู้กู้จ่ายหนี้ตรงเวลาข้อมูลจะไม่ขึ้นในเครดิตบูโร แต่ถ้าหากมีการผิดชำระโดยเฉพาะติด Black list หนีหนี้ แน่นอนว่าข้อมูลนี้จะไปปรากฏบนเครดิตบูโรของคุณแน่นอน และจะทำให้ธนาคารไม่มั่นใจที่จะปล่อยสินเชื่อให้

4.6 เงินเก็บและรายการเดินบัญชี บางธนาคารไม่ได้พิจารณาในจุดนี้มาก แต่บางธนาคารก็ต้องการที่จะดูเพื่อความมั่นใจเช่นกัน เพราะเงินเก็บเหล่านี้จะต้องนำมาจ่ายให้กับค่าใช้จ่ายจิปาถะที่มากับการซื้อคอนโด เช่น ค่าโอน ค่าจดจำนอง ค่ากองทุน ค่าส่วนกลาง หรือแม้แต่ค่าตกแต่ง การมีรายได้ที่ต่อเนื่อง มีเงินเก็บ และรายการเดินบัญชีที่ไม่ผิดปกติ จะเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ธนาคารตัดสินใจปล่อยกู้ให้คุณได้ง่ายขึ้น

4.7 การยื่นขอดูเครดิตบูโรบ่อยอาจจะมีปัญหา เนื่องจากทุกครั้งที่เรายื่นกู้ ไม่ว่าจะรถ บ้าน หรือบัตรเครดิต ทางผู้ให้สินเชื่อจะทำการตรวจสอบโดยการยื่นขอดูเครดิตบูโร และข้อมูลการขอดูเครดิตบูโรจะปรากฏภายใน 30-45 วันให้หลัง หากมีการยื่นขอดูอย่างต่อเนื่อง ธนาคารอาจจะคิดว่าเราอาจจะเปิดบัตรเครดิตเพิ่มหรือมีการกู้อย่างอื่นก่อนหน้า ทำให้ธนาคารชะลอการปล่อยกู้หรือไม่อนุมัติเลยก็ได้เช่นกัน เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาเหล่านี้แนะนำว่าเวลากู้สินเชื่อคอนโดให้ยื่นไปหลายๆ ธนาคารพร้อมกันเลย เพราะในช่วงเวลาเดียวกันธนาคารจะตรวจหากันไม่เจอ สำหรับสินเชื่อเพื่อตกแต่งหรือสินเชื่ออื่นๆ เช่น บัตรเครดิต หลังจากที่สินเชื่อคอนโดอนุมัติตามที่คุณต้องการแล้วก็ให้ยื่นกู้ต่อไปได้เลย เพราะข้อมูลการผ่อนคอนโดของเรายังไม่ปรากฏ

5. ฐานเงินเดือนถึง แต่ธนาคารปล่อยกู้ที่เท่าไหร่?

ขั้นตอน, กู้ซื้อคอนโด, มนุษย์เงินเดือน, โครงการ, คอนโด, เงินเดือน, สินเชื่อ, เครดิตบูโร

การปล่อยกู้ของธนาคารจะใช้หลายๆ ปัจจัยเป็นส่วนประกอบ ถ้าอันไหนที่ลงล็อกธนาคารจะปล่อยตัวนั้น ดังนั้นจึงขอแยกเป็นหัวข้อย่อยกันก่อน ขอให้ผู้อ่านลองไล่ดูแต่ละข้อ เพราะทุกปัจจัยจะส่งผลต่ออัตราเงินกู้ที่ธนาคารจะยอมปล่อยด้วย

5.1 ปล่อยสินเชื่อตามราคาประเมินหรือราคาซื้อขายจริง ธนาคารจะตรวจสอบราคาของคอนโดจาก 2 ช่องทางเป็นหลัก หนึ่งคือให้เจ้าหน้าที่ไปประเมินราคาโดยดูจากที่ดินและสภาพตึก ซึ่งบางธนาคารจะใช้ฝ่ายประเมินของตัวเอง ส่วนบางธนาคารก็จะใช้ทีมงานที่เป็น Outsource ธนาคารจะนำราคาประเมินมาเปรียบเทียบกับราคาซื้อขายจริง หากราคาไหนต่ำกว่าธนาคารจะยึดการปล่อยกู้ที่ราคานั้น

5.2 ปล่อยกู้ 100% หรือ 80% การที่ธนาคารยึดการปล่อยสินเชื่อตามราคาซื้อขายจริงหรือราคาประเมิน ยังต้องนำมาคิดกับนโยบายของธนาคารต่อโครงการนั้นๆ ด้วย ว่าธนาคารจะปล่อยกู้ให้คอนโดนั้นๆ ที่ 100% หรืออื่นๆ ธนาคารที่ปล่อยกู้ไม่ถึง 100% ของราคาซื้อขายจริงหรือราคาประเมิน เกิดจากการที่ธนาคารไม่ได้มีการทำโปรโมชั่นหรือไม่ได้เข้าร่วมกับคอนโดโครงการนั้นๆ แต่อย่างไรก็ตามหากคุณได้เข้าไปคุยกับพนักงานขายของโครงการ ทางโครงการจะแนะนำธนาคารที่สามารถปล่อยกู้ 100% ให้อยู่แล้ว สำหรับคอนโดมือสองส่วนใหญ่ธนาคารจะไม่ปล่อยที่ 100% ส่วนใหญ่จะปล่อยสินเชื่ออยู่ที่ 80% ของราคาซื้อขายจริงหรือราคาประเมิน

5.3 ชื่อเสียงของ Developer มีผลกับการปล่อยกู้ อันนี้จะพลิกจากการประเมินกำลังผ่อนจากฐานเงินเดือนไปเลย เนื่องจากโดยปกติธนาคารจะปล่อยสินเชื่อโดยดูจากกำลังผ่อนต่อเดือน โดยจะคิดอยู่ที่ 60%-70% แต่ถ้าเป็น Developer ที่ธนาคารให้ความเชื่อถือ จะสูงได้ถึง 80% เลยทีเดียว เช่น เงินเดือน 15,000 กำลังการผ่อนอยู่ที่เดือนละ 10,500 บาท แต่ถ้าเป็น Developer ที่ธนาคารเชื่อถือจะได้ถึง 12,000 ยอดที่กู้ได้จาก 1.5 ล้านบาท จะเป็น 1.7 ล้านบาท

6. ราคาขาย Vs ราคาประเมิน ที่บางครั้งไม่ได้สอดคล้องกัน

ขั้นตอน, กู้ซื้อคอนโด, มนุษย์เงินเดือน, โครงการ, คอนโด, เงินเดือน, สินเชื่อ, เครดิตบูโร

6.1 บางโครงการตั้งราคาหลอกสำหรับยื่นกู้เอาไว้ นั่นรวมไปถึงส่วนลดต่างๆ ด้วย ซึ่งตรงนี้จะเป็นข้อดีของลูกค้าที่จะได้เงินส่วนต่างหลังจากธนาคารอนุมัติไปจ่ายค่าจิปาถะไม่ว่าจะเป็น ค่าโอน ค่าจดจำนอง ค่ากองทุน หรือค่าส่วนกลาง รวมถึงหากธนาคารปล่อยกู้ต่ำกว่านั้น ก็ยังมีโอกาสที่จะครอบคลุมค่าคอนโดด้วย คล้ายกับการตั้งราคาไว้เผื่อต่อ

6.2 ราคาหลอกหรือส่วนลด ไม่ใช่ว่าจะดีเสมอไป เนื่องจากหลายๆ ธนาคารจะใช้บริษัทประเมินกลาง ซึ่งบริษัทเหล่านี้ข้อมูลค่อนข้างแน่น พวกเขาทราบถึงราคาหลอกหรือส่วนลดที่ทางโครงการให้ และถ้าหากบริษัทมองว่าราคาของโครงการไม่ค่อยน่าเชื่อถือ พวกเขาจะคำนวนโดยยึดราคาที่ดินจากกรมที่ดิน ซึ่งบางครั้งราคาจะต่ำกว่าราคาที่ลดแล้วของทางโครงการอีก ทำให้กลายเป็นภาระของผู้กู้ที่จะต้องหาค่าส่วนต่างมาจ่ายเพิ่มขึ้น

6.3 Developer ชื่อดัง เกรดดี ธนาคารจะมีลิสรายชื่ออยู่ และให้ความมั่นใจหากผู้กู้ผ่อนไม่ไหว ธนาคารสามารถยึดมาแล้วขายต่อได้ในราคาที่ไม่ขาดทุน ดังนั้นโครงการเหล่านี้ส่วนใหญ่ธนาคารจะให้ราคาประเมินเท่ากับราคาซื้อขายจริง

7. โปรโมชั่นของธนาคารและการทำประกัน

ขั้นตอน, กู้ซื้อคอนโด, มนุษย์เงินเดือน, โครงการ, คอนโด, เงินเดือน, สินเชื่อ, เครดิตบูโร

7.1 หลายธนาคารใช้การทำประกันเป็นเหมือนข้อแม้ในการปล่อยสินเชื่อ คือมีการบังคับให้ทำประกันหรือถ้าทำประกันด้วยการปล่อยสินเชื่อก็จะง่ายขึ้น โดยประกันจะมีสัญญาประมาณ 15 ปี ในบางธนาคารหากเราผ่อนชำระคอนโดหมดภายใน 15 ปี ก็จะได้เงินที่ทำประกันไว้คืน ข้อดีของการทำประกันคือหากเกิดเหตุร้ายกับคอนโดของคุณหรือกับตัวคุณเอง คุณก็สามารถที่จะไม่ผ่อนคอนโดนั้นต่อได้

7.2 การผ่อนชำระกับธนาคารจะผ่อนเท่ากันทุกงวด แบบลดต้นลดดอก โดยการผ่อนในระยะแรกเงินส่วนใหญ่ที่คุณจ่ายไปจะกลายไปเป็นค่าดอกเบี้ย และเมื่อจ่ายไปได้ระยะหนึ่งสัดส่วนของเงินต้นจะเพิ่มขึ้นในแต่ละงวด บางธนาคารจะมีโปรโมชั่นกับโครงการใหญ่ๆ ซึ่งจะมีโปรโมชั่นการผ่อนแบบขั้นบันไดด้วย

7.3 การกู้เพื่อตกแต่ง คือการกู้สินเชื่ออเนกประสงค์ ดอกเบี้ยจะเป็นอีกเรทหนึ่ง และระยะเวลาในการผ่อนก็จะเป็นอีกแบบหนึ่งเช่นกัน โดยธนาคารแต่ละที่จะกำหนดว่ากู้ได้กี่เปอร์เซนต์ของราคาห้อง ตามแต่โปรโมชั่นของธนาคารนั้นๆ

7.4 หลัง 3 ปีแรก ดอกเบี้ยที่เคยเป็นดอกเบี้ยตายตัวจะกลายเป็นดอกเบี้ยแบบลอยตัวซึ่งค่อนข้างสูง ทำให้เงินที่คุณจ่ายกลายเป็นดอกเบี้ยซะส่วนใหญ่ หลายคนจึงใช้วิธีไปขอลดดอกเบี้ยกับทางธนาคาร หรือบางคนเลือกที่จะรีไฟแนนซ์กับธนาคารอื่น ซึ่งการรีไฟแนนซ์นั้นอาจจะต้องทำประกันใหม่กับธนาคารอื่น และประกันที่ทำกับธนาคารเดิมสิ้นสุดลง ตรงนี้ลูกค้าเองจะต้องพิจารณากันเอาเองว่าการรีไฟแนนซ์จะได้คุ้มเสียหรือไม่

8. ค่าใช้จ่ายสุดท้ายก่อนเข้าอยู่คอนโดมีอะไรบ้าง? และเท่าไหร่?

ขั้นตอน, กู้ซื้อคอนโด, มนุษย์เงินเดือน, โครงการ, คอนโด, เงินเดือน, สินเชื่อ, เครดิตบูโร

ค่าใช้จ่ายก่อนเข้าอยู่คอนโดแล้วแต่โปรโมชั่นของตัวโครงการ หากไม่มีโปรโมชั่นลูกค้าจะต้องเตรียมเงินเอาไว้ประมาณ 80,000-100,000 บาทเป็นอย่างต่ำ แต่โดยรวมแล้วมีค่าใช้จ่ายปลีกย่อยดังนี้

8.1 ค่าทำสัญญา ค่าใช้จ่ายก็จะอยู่ที่ 30,000 บาทขึ้นไป ตรงนี้จะเป็นอะไรที่เกี่ยวกับการออกเอกสารสัญญาต่างๆ

8.2 ค่ากองทุน บาท/ตร.ม. จะจ่ายครั้งเดียว ก็จะตกอยู่ราวๆ 10,000 บาทขึ้นไป แล้วแต่โครงการ

8.3 ค่าส่วนกลาง บาท/ตร.ม./เดือน แต่จ่ายเป็นปี และจะเก็บล่วงหน้า 1 ปี ตัวนี้ก็ประมาณ 10,000 บาทขึ้นไปเช่นกัน

8.4 ค่าธรรมเนียมการโอนสิทธิ์ 2% ของราคาขาย แต่คุณกับโครงการก็จะจ่ายกันคนละครึ่ง พูดง่ายๆ คือเราออกแค่ 1% แต่ตรงนี้ต้องรอดูโปรโมชั่น บางโครงการอาจจะฟรีให้

8.5 ค่ามิเตอร์ไฟฟ้าไม่เกิน 5,000 บาท แล้วแต่โครงการ

การจะมีคอนโดสักห้องหนึ่งเป็นของตัวเองต้องผ่านหลายขั้นตอนที่มีความยุ่งยากซับซ้อน ซึ่งเป็นธรรมดาที่ของราคาหลักล้านกว่าบาทย่อมถูกสร้างมาเพื่อคนที่มีความพร้อมเท่านั้น อย่างไรก็ตามมนุษย์เงินเดือนที่ยังไม่มีประสบการณ์ในการกู้ซื้อคอนโดก็ลองศึกษากันเอาไว้และอย่าลืมสำรองเงินสำหรับค่าใช้จ่ายต่างๆ อย่างต่ำ 100,000 บาทเอาไว้ด้วย

ขอบคุณข้อมูลจาก REAL ASSET

บทความที่เกี่ยวข้อง
Jobs aSearcher