ผู้สมัครงานประเภทไหนที่องค์กรไม่ควรรับเข้าทำงาน

ผู้สมัครงาน, ประเภทไหน, ไม่ควรรับเข้าทำงาน, องค์กร, ไม่ควรจ้าง, ทำงาน, สัมภาษณ์งาน, HR, ตำแหน่งงาน

คุณสมบัติสุดแย่ของผู้สมัครงานที่ไม่ควรจ้าง!

ผู้สมัครงาน, ประเภทไหน, ไม่ควรรับเข้าทำงาน, องค์กร, ไม่ควรจ้าง, ทำงาน, สัมภาษณ์งาน, HR, ตำแหน่งงาน

ผู้สมัครงานประเภทไหนที่ไม่ควรรับเข้าทำงาน? เป็นคำถามที่คนทำงานด้านทรัพยากรบุคคลหรือ HR จะต้องหาคำตอบให้ได้! เพราะทักษะอย่างหนึ่งที่ HR จะต้องมีติดตัวไว้เลยก็คือ ทักษะการมองหรือการคัดเลือกคนเข้ามาร่วมงานนั่นเองค่ะ เนื่องจาก HR จะต้องใช้เวลาในช่วงสั้นๆ สัมภาษณ์ผู้สมัครงานเพื่อที่จะได้รู้จักตัวตนของพวกเขาให้มากขึ้นผ่านบุคลิกภาพและทัศนคติว่าพวกเขาเหมาะสมกับตำแหน่งงานที่เปิดรับหรือไม่?

ถึงแม้ว่าในโลกใบนี้จะไม่มีใครสมบูรณ์แบบไปหมดซะทุกอย่าง แต่ในการคัดเลือกพนักงานนั้น ฝ่ายทรัพยากรบุคคลหรือ HR จะต้องมองหาคนที่เหมาะสมกับตำแหน่งงานและองค์กรมากที่สุด ถ้าหากผู้สมัครงานขาดคุณสมบัติบางประการก็ยังสามารถจัดฝึกอบรมหรือจัดหลักสูตรพัฒนาบุคลากรรายบุคคลในภายหลังได้ แต่หากเจอผู้สมัครที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ องค์กรไม่ควรจ้างหรือรับเข้ามาทำงานเด็ดขาดเพราะอาจจะได้ไม่คุ้มเสียในระยะยาว

คนประเภทไหนที่องค์กรไม่ควรรับเข้าทำงาน?

ผู้สมัครงาน, ประเภทไหน, ไม่ควรรับเข้าทำงาน, องค์กร, ไม่ควรจ้าง, ทำงาน, สัมภาษณ์งาน, HR, ตำแหน่งงาน

ผู้สมัครงานประเภทไหนที่องค์กรไม่ควรรับเข้าทำงาน? เป็นคำถามที่ HR จะต้องหาคำตอบอย่างรอบคอบ เพราะน้อยครั้งมากที่ HR จะเจอผู้สมัครงานที่ใช่ ที่เหมาะสมกับตำแหน่งงานและองค์กรแบบไร้ข้อกังขา ซึ่งข้อผิดพลาดบางเรื่องก็อาจจะยังพอรับได้ แต่ถ้าเมื่อไหร่ก็ตามที่ผู้สมัครแสดงคุณสมบัติสุดแย่นี้ขึ้นมาล่ะก็ อย่ารับพวกเขาเข้ามาทำงานอย่างเด็ดขาด!

1. ไม่มีความรู้ในตำแหน่งงานที่สมัครเลย

ผู้สมัครงาน, ประเภทไหน, ไม่ควรรับเข้าทำงาน, องค์กร, ไม่ควรจ้าง, ทำงาน, สัมภาษณ์งาน, HR, ตำแหน่งงาน

ผู้สมัครงานประเภทนี้ไม่มีองค์กรไหนอยากรับเข้าทำงาน เนื่องจากไม่มีความเหมาะสมกับตำแหน่งงาน ถ้ารับเข้ามาต้องเสียเวลาในการเทรนนิ่งเป็นอย่างมาก ซึ่งลักษณะที่สังเกตได้ง่ายๆ ของผู้สมัครงานประเภทนี้คือจะไม่ค้นคว้าข้อมูลขององค์กรก่อนมาสัมภาษณ์งาน

2. พูดถึงที่ทำงานเก่าแต่แง่ลบ

ผู้สมัครงาน, ประเภทไหน, ไม่ควรรับเข้าทำงาน, องค์กร, ไม่ควรจ้าง, ทำงาน, สัมภาษณ์งาน, HR, ตำแหน่งงาน

ถ้าผู้สมัครงานเอาแต่พูดถึงที่ทำงานเก่าแต่แง่ลบ และยังนำแต่เรื่องแย่ๆ ภายในองค์กรเก่าไปเล่าและใส่ไฟให้ดูเลวร้าย นั่นก็หมายความว่าผู้สมัครงานคนนี้มีนิสัยชอบว่าร้ายคนอื่นให้บุคคลที่สามฟัง อีกทั้งยังพูดแต่ความผิดของคนอื่นฝ่ายเดียวอีกด้วย เป็นการแสดงให้เห็นว่าเขาพร้อมที่จะตำหนิคนอื่นอยู่เสมอ

3. ไม่บอกเหตุผลที่ลาออกจากที่ทำงานเก่า

ผู้สมัครงาน, ประเภทไหน, ไม่ควรรับเข้าทำงาน, องค์กร, ไม่ควรจ้าง, ทำงาน, สัมภาษณ์งาน, HR, ตำแหน่งงาน

ถ้าผู้สมัครงานไม่บอกถึงสาเหตุของการเปลี่ยนงาน หรืออธิบายแบบคลุมเครือ HR ก็ต้องพิจารณาให้ดีว่าทำไมเขาจึงไม่บอก เพราะนี่อาจจะหมายความว่าเขาลาออกจากที่ทำงานเก่าด้วยเหตุผลที่ไม่ดีสักเท่าไหร่ ถ้าจะเสี่ยงรับเข้าทำงานก็อาจเป็นผลเสียกับองค์กรได้ในอนาคต

4. มีความขี้เกียจให้เห็นตั้งแต่ครั้งแรก

ผู้สมัครงาน, ประเภทไหน, ไม่ควรรับเข้าทำงาน, องค์กร, ไม่ควรจ้าง, ทำงาน, สัมภาษณ์งาน, HR, ตำแหน่งงาน

ในการสัมภาษณ์งานอาจเป็นเรื่องยากที่ HR จะรับรู้ได้ว่าใครเป็นคนขี้เกียจ ใครเป็นคนขยัน แต่ HR สามารถทดสอบได้ง่ายๆ ด้วยการลองให้ผู้สมัครงานตอบคำถามที่ยาวๆ ดูเพื่อที่จะสังเกตได้ว่าเขาขยันพูดเพื่อให้คำตอบมันออกมาครบถ้วนสมบูรณ์หรือเปล่า

5. พูดโอ้อวดมากเกินไป

ผู้สมัครงาน, ประเภทไหน, ไม่ควรรับเข้าทำงาน, องค์กร, ไม่ควรจ้าง, ทำงาน, สัมภาษณ์งาน, HR, ตำแหน่งงาน

ในการสัมภาษณ์งานถ้าผู้สมัครงานพูดถึงความสำเร็จมากเกินไปจนเกินพอดี ก็จะกลายเป็นเหมือนการพูดโอ้อวดได้ ถ้า HR รู้สึกว่าผู้สมัครงานพูดค่อนข้างเกินจริงหรือเวลาที่เรามีข้อสงสัยแล้วเขาตอบได้แค่กว้างๆ นั่นก็อาจเป็นสัญญาณเตือนให้เราต้องพิจารณาให้ดีก่อนที่จะตัดสินใจรับเขาเข้ามาทำงาน

6. ควบคุมอารมณ์ไม่ได้

ผู้สมัครงาน, ประเภทไหน, ไม่ควรรับเข้าทำงาน, องค์กร, ไม่ควรจ้าง, ทำงาน, สัมภาษณ์งาน, HR, ตำแหน่งงาน

การควบคุมอารมณ์ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมากในการทำงาน เพราะถ้าควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้ก็จะส่งผลกระทบต่อคนอื่น และแสดงให้เห็นถึงความไม่เป็นมืออาชีพ HR ต้องลองสังเกตผู้สมัครงานดูว่าเขาควบคุมอารมณ์ตัวเองได้หรือไม่ ถ้าเกิดบางคำถามที่ถามออกไปแล้วเขาแสดงอารมณ์โกรธ ไม่พอใจ ตื่นเต้น ประหม่า ฯลฯ จนตอบถูกๆ ผิดๆ หรือตอบคำถามทั่วๆ ไปไม่ได้ แสดงว่าเขาอาจจะเป็นคนที่ควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้

บทความที่เกี่ยวข้อง
Jobs aSearcher