ในยุค New Normal องค์กรควร Reskill-Upskill พนักงานอย่างไร?

New Normal, Reskill, Upskill, การดำเนินชีวิต, การเปลี่ยนแปลง, ปรับตัว, ทักษะ, พัฒนา, พนักงาน

New Normal คืออะไร?

New Normal, Reskill, Upskill, การดำเนินชีวิต, การเปลี่ยนแปลง, ปรับตัว, ทักษะ, พัฒนา, พนักงาน

ก่อนที่จะรู้ว่าในยุค New Normal นี้ องค์กรควร Reskill-Upskill พนักงานอย่างไร? ก่อนอื่นเลยเราคงต้องไปทำความรู้จักกับ "นิวนอร์มัล" กันก่อนว่ามันคืออะไร?

"นิวนอร์มัล" แปลว่า ความปกติใหม่, ฐานวิถีชีวิตใหม่ หมายถึงรูปแบบการดำเนินชีวิตอย่างใหม่ที่แตกต่างจากอดีต อันเนื่องจากมีบางสิ่งมากระทบ จนแบบแผนและแนวทางปฏิบัติที่คนในสังคมคุ้นเคยอย่างเป็นปกติและเคยคาดหมายล่วงหน้าได้ต้องเปลี่ยนแปลงไปสู่วิถีใหม่ภายใต้หลักมาตรฐานใหม่ที่ไม่คุ้นเคย ซึ่งรูปแบบวิถีชีวิตใหม่นี้ ประกอบด้วยวิธีคิด วิธีเรียนรู้ วิธีสื่อสาร วิธีปฏิบัติและการจัดการ การใช้ชีวิตแบบใหม่เกิดขึ้นหลังจากเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงและรุนแรงอย่างใดอย่างหนึ่ง ทำให้มนุษย์ต้องปรับตัวเพื่อรับมือกับสถานการณ์ปัจจุบันมากกว่าจะธำรงรักษาวิถีดั้งเดิมหรือหวนหาถึงอดีต

องค์กรควร Reskill-Upskill พนักงานอย่างไรในยุค "นิวนอร์มัล" ?

New Normal, Reskill, Upskill, การดำเนินชีวิต, การเปลี่ยนแปลง, ปรับตัว, ทักษะ, พัฒนา, พนักงาน

เป็นที่ทราบกันดีว่าการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกอย่างรุนแรงและเป็นวงกว้าง ทำให้โลกเข้าสู่สภาวะถดถอยอย่างมาก และเกิดเป็นความเปลี่ยนแปลงที่เรียกว่า New Normal ขึ้น ธุรกิจหลายๆ ประเภทจึงต้องปรับตัวเพื่อให้อยู่รอดและสามารถเติบโตต่อไปได้ การ Reskill-Upskill พนักงาน จึงเป็นอีกหนทางที่จะทำให้ธุรกิจอยู่รอดและสามารถเติบโตต่อไปได้

1. ทักษะมีวันหมดอายุ

โลกในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทำให้มีงานใหม่ๆ ตำแหน่งใหม่ๆ เกิดขึ้นทุกปี ทักษะเดิมก็อาจเปลี่ยนได้ ถูกทดแทนได้ คงจะดีกว่าถ้าองค์กรจะพัฒนาความสามารถเชิงคุณภาพภายในตัวพนักงานให้พร้อมต่อการเรียนรู้ทักษะที่หมดอายุอย่างรวดเร็ว เช่น Growth Mindset, Resilience (ล้มแล้วลุกเร็ว-ผิดพลาดแล้วกลับตัวได้เร็ว) Critical Thinking, EQ เป็นต้น

2. ชีวิตลิขิตเอง ไม่ต้องรอใครมาช่วย

องค์กรต้องทำให้พนักงานรู้สึกอินและเป็นเจ้าของการเติบโตก้าวหน้าของตนเอง (Own your career) โดยไม่ต้องรอให้ใครมาช่วยพัฒนา ในยุคนี้ผู้ที่ขวนขวายจะเป็นผู้ที่ได้รับโอกาสก่อน

3. มีเวทีให้ปล่อยของ ลงมือทำจริง เจ็บจริง

องค์กรควรให้พนักงานเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ ปัญหา (Experiential Learning, Learning in the flow of work) จะเรียนรู้ได้เร็วกว่าการเรียนแบบดั้งเดิม (ห้องเรียน, ฟังสัมมนา)

4. การพัฒนาคือการลงทุน

คนที่พัฒนาตนเองและทำงานสำเร็จควรได้รับการตอบแทนมากกว่าคนที่ไม่พัฒนา องค์กรควรปรับ Reward Program ให้มีองค์ประกอบเรื่องผลสำเร็จของการพัฒนาทักษะร่วมด้วย

5. อย่าหยุดพัฒนาคน เพียงเพราะกลัวเขาเก่งแล้วจากไป

องค์กรไหนให้ความสำคัญกับเรื่องนี้จะเป็นที่ดึงดูด และสร้างชื่อเสียง (Branding) เป็นอย่างมาก ไม่ว่าใครก็อยากร่วมงานด้วย ดีกว่าปล่อยให้พนักงานอยู่แบบไม่พัฒนาอะไรเลย

6. พัฒนาคนแบบยั่งยืนต้องให้ "เก่ง-ใช้การได้ (ทำงานสำเร็จ)-ตอบโจทย์เป้าหมาย"

โดยคำนึงถึงความต้องการและบริบทขององค์กร ความต้องการของพนักงานเองและความต้องการของลูกค้าร่วมด้วย

ขอบคุณข้อมูลจาก HR NOTE.asia

บทความที่เกี่ยวข้อง
Jobs aSearcher