ข้อดี-ข้อเสีย หากนายจ้างต้องการเช็คประวัติผู้สมัครงานผ่านโซเชียลมีเดีย

นายจ้าง, เช็คประวัติ, ผู้สมัครงาน, โซเชียลมีเดีย, ตัดสินใจ, รับเข้าทำงาน, ข้อดี, ข้อเสีย, ตรวจสอบ

นายจ้างสมัยใหม่ดูการใช้งานโซเชียลมีเดียของผู้ที่มาสมัครงานจริงหรือเปล่า?

นายจ้าง, เช็คประวัติ, ผู้สมัครงาน, โซเชียลมีเดีย, ตัดสินใจ, รับเข้าทำงาน, ข้อดี, ข้อเสีย, ตรวจสอบ

ในปัจจุบันนายจ้างสมัยใหม่เริ่มที่จะเช็คประวัติและศึกษาข้อมูลของผู้สมัครงานเพิ่มมากขึ้น โดยนอกจากจะศึกษาข้อมูลผ่านทางเรซูเม่กับใบสมัครที่ส่งมาแล้ว ยังต้องศึกษาเพิ่มเติมไปที่โซเชียลมีเดียของผู้สมัครอีกด้วย

เนื่องจากในยุคสมัยใหม่นี้ ไม่ว่าใครต่างก็มีโซเชียลมีเดียด้วยกันทั้งนั้น นอกจากจะทำให้การสื่อสารมีความสะดวกรวดเร็วแล้ว ยังสามารถอัปเดตข่าวสารต่างๆ ได้ แถมยังสามารถเขียนเล่าเรื่องราวของตัวเอง อัปเดตสเตตัสหรือรูปภาพต่างๆ รวมไปถึงการแชร์สิ่งที่สนใจขึ้นบนฟีดข่าวเพื่อให้เพื่อนๆ ในโซเชียลได้รับรู้ ทำให้นายจ้างส่วนมากต่างก็ใช้ช่องทางนี้ในการตรวจสอบประวัติของผู้สมัครงานก่อนที่จะตัดสินใจรับเข้าทำงานนั่นเองค่ะ

ข้อดี-ข้อเสีย ในการใช้สื่อโซเชียลมีเดียเช็คประวัติผู้สมัครงาน

นายจ้าง, เช็คประวัติ, ผู้สมัครงาน, โซเชียลมีเดีย, ตัดสินใจ, รับเข้าทำงาน, ข้อดี, ข้อเสีย, ตรวจสอบ

ไม่ต้องแปลกใจหากนายจ้างสมัยใหม่มักจะเลือกใช้ช่องทางสื่อโซเชียลมีเดียต่างๆ ในการเช็คประวัติของผู้สมัครงานก่อนที่จะตัดสินใจรับเข้าทำงาน วันนี้เราจึงมีข้อดีและข้อเสียในการใช้โซเชียลมีเดียเพื่อการตรวจสอบประวัติของผู้สมัครงานมาฝากกันค่ะ จะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย!

ข้อดี

1. ข้อมูลจริงไม่ได้มโน

การตรวจสอบประวัติผู้สมัครงานทางสื่อโซเชียลมีเดียนั้น สามารถยืนยันข้อมูลได้ว่าตรงกับเรซูเม่หรือใบสมัครที่ผู้สมัครงานส่งมา โดยนายจ้างสามารถเข้าไปเช็คข้อมูลดูได้หากในเรซูเม่นั้นกรอกไม่ตรงกับในโซเชียลมีเดีย

2. สามารถเข้ากันได้กับองค์กร

ผู้คนส่วนมากมักจะชอบแชร์และคุยบนสื่อโซเชียลมีเดียกันอยู่แล้ว ดังนั้นเหล่านายจ้างจึงสามารถเห็นอีกด้านของผู้สมัครงานได้ไม่ยากจนเกินไป ซึ่งสามารถประเมินทักษะการติดต่อสื่อสารหรือดูว่าจะเข้ากับองค์กรของตัวเองในการทำงานได้หรือไม่คร่าวๆ ผ่านความชอบและสิ่งที่ไม่ชอบได้

ข้อเสีย

1. ผิดกฎหมาย

แม้ว่าความตั้งใจตรวจสอบประวัติผู้สมัครงานผ่านการค้นหาบน Google นั้นไม่ได้ดูผิดกฎหมายและก็เป็นสิ่งที่นายจ้างส่วนมากก็ทำกัน แต่พึงระลึกไว้ว่าสิ่งที่คุณเลือกกระทำนั้นอาจฝ่าฝืนกฎหมายในแง่ของสิทธิส่วนบุคคลได้

2. สิทธิส่วนบุคคล

เหล่าสื่อโซเชียลมีเดียต่างๆ เปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานได้เลือกปรับความเป็นส่วนตัวจากการปรับการเข้าดูประวัติของแต่ละคนได้ ผู้สมัครงานที่เก๋าเกมจะระมัดระวังในการเลือกโพสต์แต่ละอย่างบนโลกออนไลน์ ซึ่งดูเป็นสัญญาณมือโปร ทำให้นายจ้างไม่สามารถสืบค้นบุคลิกและความชอบที่แท้จริงของผู้สมัครงานคนนั้นๆ ได้ นายจ้างจึงสามารถดูได้เพียงบางส่วน เช่น รูปหน้าประวัติ แต่ให้พึงระวังเอาไว้ว่าการเข้าไปดู (หรือส่อง) ประวัติของผู้สมัครงานบางอย่างอาจมีการร้องขอความเป็นเพื่อน ซึ่งจะเข้าข่ายการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลได้

สรุปข้อควรทำ

1. ทำความเข้าใจกฎเกณฑ์ต่างๆ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาทางด้านกฎหมาย
2. เช็คประวัติเฉพาะในส่วนที่เปิดเผยแก่สาธารณะ
3. เป็นกลาง โดยไม่ลำเอียงจากข้อมูลที่พบเห็น

สรุปข้อไม่ควรทำ

1. แกล้งเนียนเป็นเพื่อนไปขอดูประวัติของผู้สมัครงาน
2. ขอชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน
3. ไม่เป็นกลางจากการเลือกเช็คประวัติในแง่ลบเพียงอย่างเดียว

ขอบคุณข้อมูลจาก jobsDB

บทความที่เกี่ยวข้อง
Jobs aSearcher