อายุเท่านี้...ต้องมีเงินเก็บเท่าไหร่? ถึงเรียกว่าพอ!

อายุ, มีเงินเก็บ, เท่าไหร่, เก็บเงิน, ออมเงิน, ค่าใช้จ่าย, เงินเก็บ, เงินออม, เงินเดือน

อายุเท่านี้ควรมีเงินออมกี่บาท?

อายุ, มีเงินเก็บ, เท่าไหร่, เก็บเงิน, ออมเงิน, ค่าใช้จ่าย, เงินเก็บ, เงินออม, เงินเดือน

อายุเท่านี้...ควรมีเงินเก็บเท่าไหร่? เป็นคำถามที่เรามักจะได้ยินกันอยู่บ่อยครั้ง และเป็นคำถามที่สร้างแรงกดดันให้เราเป็นอย่างมาก เพราะไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถเก็บเงินให้ได้เยอะๆ อายุน้อยก็ไม่ได้แปลว่าต้องมีเงินเก็บน้อย หรืออายุมากก็ไม่ได้แปลว่าต้องมีเงินเก็บมาก มันขึ้นอยู่กับเป้าหมายและภาระหน้าที่ของคนๆ นั้นว่าจะต้องมีเงินเก็บเท่าไหร่ถึงจะเพียงพอกับค่าใช้จ่ายในอนาคตข้างหน้า!

ซึ่งเหตุผลที่คนส่วนมากไม่ค่อยมีเงินเก็บกันนั้น อาจเป็นเพราะพวกเขามักจะโฟกัสแต่กับเรื่องที่ว่าจะทำยังไงให้มีเงินเดือนพอใช้ในปัจจุบันวันนี้ และมองเรื่องของการเก็บเงินหรือการออมเงินเป็นสิ่งที่ควรทำทีหลังในตอนที่มีเงินเหลือเยอะมากกว่านี้ซะก่อน แต่ในความเป็นจริงแล้ว การเก็บเงินหรือการออมเงินนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นกับชีวิตในอนาคตข้างหน้าเป็นอย่างมาก เพราะมันเป็นตัวชี้วัดเลยว่าเราจะมีเงินพอให้ใช้ในชีวิตประจำวัน มีค่าใช้จ่ายในยามฉุกเฉิน และในวัยเกษียณหรือไม่?

ต้องมีเงินเก็บเท่าไหร่ถึงเรียกว่าพอ!

อายุ, มีเงินเก็บ, เท่าไหร่, เก็บเงิน, ออมเงิน, ค่าใช้จ่าย, เงินเก็บ, เงินออม, เงินเดือน

อายุเท่านี้...ต้องมีเงินเก็บเท่าไหร่? ถึงเรียกว่าพอ! สำหรับใครที่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นเก็บเงินยังไง? ไม่แน่ใจว่าจำนวนเงินที่กำลังเก็บอยู่ในตอนนี้โอเคแล้วรึยัง? วันนี้เรามีสูตรการคำนวณพื้นฐานแบบง่ายๆ ที่จะช่วยให้เราประเมินเงินเก็บที่ควรมี เพื่อนำไปวางแผนการใช้เงินให้เหมาะกับตัวเองมาฝากค่ะ

มาดูวิธีคำนวนเงินออมสำหรับมนุษย์เงินเดือนกัน!

อายุ, มีเงินเก็บ, เท่าไหร่, เก็บเงิน, ออมเงิน, ค่าใช้จ่าย, เงินเก็บ, เงินออม, เงินเดือน

2 x (อายุปัจจุบัน - อายุที่เริ่มทำงาน) x (เงินเดือนปัจจุบัน + เงินเดือนที่เริ่มทำงาน) = จำนวนเงินที่ควรมีเก็บในตอนนี้

ตัวอย่าง

อายุ, มีเงินเก็บ, เท่าไหร่, เก็บเงิน, ออมเงิน, ค่าใช้จ่าย, เงินเก็บ, เงินออม, เงินเดือน

เราเริ่มทำงานมาตั้งแต่อายุ 22 ปี มีเงินเดือนเริ่มต้น 15,000 บาท ปัจจุบันเราอายุ 34 ปี มีเงินเดือนปัจจุบันอยู่ที่ 40,000 บาท จากข้อมูลนี้เราควรจะมีเงินเก็บอยู่ที่

2 x (34-22) x (40,000+15,000) = 1,320,000 บาท

ซึ่งเงินเก็บที่ว่านี้ ไม่จำเป็นต้องอยู่ในรูปแบบเงินสดเสมอไป 100% โดยเราควรแบ่งสัดส่วนไว้ในสินทรัพย์ต่างๆ ตามระดับความเสี่ยงและเป้าหมายในการออมด้วย เช่น

- สินทรัพย์ที่จับต้องได้ เช่น บ้าน ที่ดิน สินทรัพย์ให้เช่า เป็นต้น
- สินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ เช่น สลากออมสิน เงินสด เงินฝากออมทรัพย์ เงินฝากประจำ ตราสารหนี้ กองทุนรวม หุ้น ทองคำ เป็นต้น

บทความที่เกี่ยวข้อง
  • แนะนำ 5 ที่เที่ยวทั่วไทย ต้อนรับหน้าหนาวปี 2563

    แนะนำ 5 ที่เที่ยวทั่วไทย ต้อนรับหน้าหนาวปี 2563

    By AI Peem | 21/11/2020

    ในที่สุดก็มาถึงช่วงที่หลายคนรอคอย ซึ่งถือว่าเป็นในช่วงเวลาที่อากาศดีที่สุดในประเทศไทยเลยก็ว่าได้ เมื่อถึงเวลาแบบนี้ ก็ต้องมาแนะนำสถานที่เที่ยวรับหน้าหนาวประจำปี 2563 ให้ทุกคนไปเที่ยวในช่วงวันหยุดยาวกันครับ

  • ไหว้พระ-9-วัดเสริมสิริมงคลให้ชีวิตปังๆต้อนรับปี-2564

    ไหว้พระ 9 วัด เสริมสิริมงคลให้ชีวิตปังๆ ต้อนรับปี 2564

    By AI Fern | 20/11/2020

    บอกเลยว่าในช่วงวันหยุดยาวปีใหม่ที่กำลังจะถึงนี้ ถือเป็นช่วงเวลาที่ดีในการเริ่มต้นชีวิตด้วยการทำแต่สิ่งที่ดีๆ โดยการไปทำบุญไหว้พระ 9 วัด เพราะถือเป็นการเสริมสิริมงคลให้ชีวิตปังๆ ต้อนรับปี 2564 นั่นเองค่ะ

  • เช็คปีชงและวิธีแก้พร้อมแจกพิกัดสถานที่ไหว้พระแก้ชงปี-2564

    เช็คปีชงและวิธีแก้ พร้อมแจกพิกัดสถานที่ไหว้พระแก้ชงปี 2564

    By AI Fern | 18/11/2020

    วันนี้เราจะพาทุกคนไปเช็คปีชง 2564 พร้อมวิธีแก้กันค่ะ รวมถึงแจกพิกัดสถานที่ไหว้พระแก้ชง เสริมดวงปังๆ เฮงๆ รับโชคตลอดปี และยังช่วยเสริมสิริมงคลให้ชีวิตต้อนรับปี 2564 ด้วย สำหรับใครที่ไม่โดนปีชง ก็ไปไหวกันได้นะคะ

Jobs aSearcher