สรุปอาการโควิด 19 ระยะแรก เป็นอย่างไร? พร้อมวิธีป้องกัน

อาการโควิด 19 ระยะแรก, เป็นอย่างไร, วิธีป้องกัน, โควิด-19, อาการ, ผู้ป่วย, ผู้ติดเชื้อ, กลุ่มเสี่ยง

อาการโควิด 19 ระยะแรก

อาการโควิด 19 ระยะแรก, เป็นอย่างไร, วิธีป้องกัน, โควิด-19, อาการ, ผู้ป่วย, ผู้ติดเชื้อ, กลุ่มเสี่ยง

ในสถานการณ์ของโรคระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ตอนนี้มียอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่เกิดความกลัว กังวล จึงต้องคอยติดตามข่าวสารกันอยู่ตลอดเวลาถึงจำนวนผู้ติดเชื้อ อัตราการเสียชีวิต รวมไปถึงการป้องกันตัวเองให้รอดพ้นจากการติดเชื้อ ดังนั้นวันนี้เราจึงจะพาทุกคนไปทำความเข้าใจและสรุปอาการโควิด 19 ระยะแรก ว่าเป็นอย่างไร? พร้อมบอกวิธีป้องกัน

อาการโควิด-19 จะเริ่มแสดงอาการออกมาภายใน 1 วัน ถึง 2 สัปดาห์ หลังจากได้รับเชื้อ ซึ่งผู้ป่วยจะเริ่มมีไข้สูงมากกว่า 37.5 องศา ไอ เจ็บคอ น้ำมูกไหล ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หายใจหอบติดขับ รวมถึงบางรายมีอาการท้องเสีย ซึ่งหากผู้ป่วยมีร่างกายไม่แข็งแรงหรือมีภูมิคุ้มกันต่ำ อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจนเข้าขั้นวิกฤตและนำไปสู่การเสียชีวิตได้

สรุปอาการโควิด-19 เป็นอย่างไร? พร้อมวิธีป้องกัน

อาการโควิด 19 ระยะแรก, เป็นอย่างไร, วิธีป้องกัน, โควิด-19, อาการ, ผู้ป่วย, ผู้ติดเชื้อ, กลุ่มเสี่ยง

สรุปอาการโควิด 19 ระยะแรก เป็นอย่างไร? พร้อมวิธีป้องกัน ถ้าให้สังเกตได้ง่ายๆ ด้วยตัวเองมี 6 อาการหลักๆ ด้วยกัน ดังนี้

1. มีไข้
2. เจ็บคอ
3. ไอแห้งๆ ไอแบบมีเสมหะ
4. น้ำมูกไหล
5. ครั่นเนื้อครั่นตัว
6. หายใจเหนื่อยหอบ หายใจลำบาก

ความแตกต่างระหว่างอาการป่วยโควิด-19 กับไข้หวัดธรรมดา คือผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จะมีอาการดังกล่าวนานกว่า ซึ่งหากป่วยนานเกิน 2 สัปดาห์อาจเข้าข่าย แม้ว่าอาการโดยทั่วไปจะดูเหมือนเป็นเพียงไข้หวัดธรรมดา แต่ที่กลัวกันทั่วโลกเป็นเพราะเชื้อไวรัสนี้เป็นสายพันธุ์ใหม่ที่ยังไม่มียาปฏิชีวนะตัวไหนที่สามารถรักษาให้หายได้โดยตรง การรักษาเป็นไปแบบประคับประคองตามอาการเท่านั้น

นอกจากนี้ อันตรายที่ทำให้เสี่ยงถึงชีวิต จะเกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิต้านทานโรคของเราไม่แข็งแรง หรือเชื้อไวรัสเข้าไปทำลายการทำงานของปอดได้ จนทำให้เชื้อไวรัสแพร่กระจายลุกลามมากขึ้น รวดเร็วขึ้น

กลุ่มเสี่ยงติดเชื้อไวรัสโควิด-19

อาการโควิด 19 ระยะแรก, เป็นอย่างไร, วิธีป้องกัน, โควิด-19, อาการ, ผู้ป่วย, ผู้ติดเชื้อ, กลุ่มเสี่ยง

1. เด็กเล็ก (แต่อาจไม่พบอาการรุนแรงเท่าผู้สูงอายุ)
2. ผู้สูงอายุ
3. คนที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน โรคปอดเรื้อรัง
4. คนที่ภูมิคุ้มกันผิดปกติ หรือกินยากดภูมิต้านทานโรคอยู่
5. คนที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานมาก (คนอ้วนมาก)
6. ผู้ที่เดินทางไปในประเทศเสี่ยงติดเชื้อ เช่น จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ไต้หวัน ฮ่องกง มาเก๊า สิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม อิตาลี อิหร่าน ฯลฯ
7. ผู้ที่ต้องทำงาน หรือรักษาผู้ป่วย ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างใกล้ชิด
8. ผู้ที่ทำอาชีพที่ต้องพบปะชาวต่างชาติจำนวนมาก เช่น คนขับแท็กซี่ เจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาล ลูกเรือสายการบินต่างๆ เป็นต้น

วิธีป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19

อาการโควิด 19 ระยะแรก, เป็นอย่างไร, วิธีป้องกัน, โควิด-19, อาการ, ผู้ป่วย, ผู้ติดเชื้อ, กลุ่มเสี่ยง

1. หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไอ จาม น้ำมูกไหล เหนื่อยหอบ เจ็บคอ
2. หลีกเลี่ยงการเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยง
3. สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่ออยู่ในที่สาธารณะ
4. ระมัดระวังการสัมผัสพื้นผิวที่ไม่สะอาด และอาจมีเชื้อโรคเกาะอยู่ รวมถึงสิ่งที่มีคนจับบ่อยครั้ง เช่น ที่จับบน BTS, MRT, Airport Link ที่เปิด-ปิดประตูในรถ กลอนประตูต่างๆ ก๊อกน้ำ ราวบันได ฯลฯ เมื่อจับแล้วอย่าเอามือสัมผัสหน้า และข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัวต่างๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ กระเป๋า ฯลฯ
5. ล้างมือให้สม่ำเสมอด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจลอย่างน้อย 20 วินาที ความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ไม่ต่ำกว่า 75% (ไม่ผสมน้ำ)
6. งดจับตา จมูก ปากขณะที่ไม่ได้ล้างมือ
7. หลีกเลี่ยงการใกล้ชิด สัมผัสสัตว์ต่างๆ โดยที่ไม่มีการป้องกัน
8. รับประทานอาหารสุก สะอาด งดอาหารดิบ และเนื้อสัตว์ป่า
9. หลีกเลี่ยงการใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว แก้วน้ำ จาน ชาม ช้อน
10. ควรดูแลสุขภาพ ออกกำลังกายและพักผ่อนให้เพียงพอ
11. หลังจากกลับจากต่างประเทศภายใน 14 วัน หากมีอาการป่วยควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว และแจ้งรายละเอียดว่าเราเคยไปต่างประเทศมาแม้ว่าประเทศนั้นจะไม่มีการติดเชื้อก็ตาม

บทความที่เกี่ยวข้อง
Jobs aSearcher