รวม 39 ศัพท์คอมพิวเตอร์ระดับพื้นฐานที่ควรรู้

รวม 39 ศัพท์คอมพิวเตอร์ระดับพื้นฐานที่ควรรู้

รวม, ศัพท์คอมพิวเตอร์, พื้นฐาน, ใช้งาน, อินเทอร์เน็ต, คำเรียก, ความสำคัญ, ความหมาย, ตัวย่อ

การใช้สิ่งใดก็ตามบนโลกนี้ที่มีความเฉพาะด้าน มนุษย์ย่อมต้องมีการสร้างคำขึ้นมาเพื่อใช้เรียกแทนสิ่งดังกล่าว และแน่นอนว่าสำหรับ Computer นั้นก็ต้องมีการสร้างคำศัพท์ต่างๆ ขึ้นมาเพื่อใช้เรียกระบบการทำงานต่างๆ ภายใน ซึ่งก็มีอยู่เยอะและหลากหลายมากๆ ดังนั้น ในวันนี้เราจะรวบรวม 39 ศัพท์คอมพิวเตอร์ระดับพื้นฐานที่ทุกคนควรรู้มาฝากกันครับ

สำหรับการใช้งานคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตนั้น ผู้พัฒนาก็ได้มีการสร้างคำศัพท์ที่ใช้สำหรับเรียกส่วนประกอบต่างๆ ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถระบุส่วนที่ต้องการใช้และเข้าใจระบบการทำงานของแต่ละส่วนได้อย่างตรงกัน ซึ่งคำเรียกในหมวดคอมพิวเตอร์นั้นมักจะใช้เป็นภาษาอังกฤษ และใช้งานเหมือนกันแทบจะในทุกภาษา ยกเว้นบางภาษาที่อาจจะมีการแปลศัพท์บางคำไปเป็นคำในภาษาของตัวเอง แต่โดยพื้นฐานแล้ว ศัพท์คอมพิวเตอร์ที่เป็นภาษาอังกฤษจะสามารถใช้ร่วมกันได้ทั้งหมด

 

39 ศัพท์คอมพิวเตอร์ระดับพื้นฐานที่ควรรู้

รวม, ศัพท์คอมพิวเตอร์, พื้นฐาน, ใช้งาน, อินเทอร์เน็ต, คำเรียก, ความสำคัญ, ความหมาย, ตัวย่อ

ศัพท์คอมพิวเตอร์ในระดับพื้นฐานที่ควรรู้นั้น ทั้งหมดเป็นคำศัพท์ในภาษาอังกฤษ โดยจะมีคำใดบ้างนั้น มาดูกันเลยครับ

 

หมวดอักษร A

API (Application Programming Interface) : การเชื่อมต่อระหว่างเว็บไซต์ กับ เว็บไซต์ หรือระหว่าง Server กับผู้ใช้งาน ซึ่งตัว API จะมีหน้าที่รับคำสั่งจากอีกฝั่ง ทำการประมวลผลข้อมูลหรือ Request ที่ได้รับ และตอบกลับไปตามที่ได้กำหนดไว้

APU (Accelerated Processing Unit) : เป็นหน่วยประมวลผล (ชิป) ที่รวมไว้ทั้ง CPU และ GPU ช่วยให้การรับส่งข้อมูลรวดเร็วขึ้น และประสิทธิภาพดีขึ้น

 

หมวดอักษร B

Bandwidth : ความจุของการรับส่งข้อมูลของอินเทอร์เน็ตจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่ง

Bit : หน่วยข้อมูลที่เล็กที่สุดของคอมพิวเตอร์ ที่ใช้สัญญาณดิจิตอลเป็นหลัก โดยนับค่า 0 และ 1 ในแต่ละครั้งเท่ากับ 1 บิท

Bookmark : ที่คั่นหน้า สำหรับบันทึกเว็บเพจ (หน้าเว็บ) ที่ใช้งานบ่อย เหมือนการคั่นหน้าหนังสือ

Browser : โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์สำหรับเปิดใช้งานเว็บไซต์ต่างๆ ยกตัวอย่างโปรแกรม เช่น Google Chrome, Firefox, Microsoft Edge

 

หมวดอักษร C

Cache : เป็นหน่วยความจำประเภทชั่วคราวที่ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถีงโปรแกรมหรือส่วนต่างๆ ที่ใช้งานบ่อยได้รวดเร็วขึ้น ซึ่งจะบันทึกอยู่ภายในคอมพิวเตอร์และช่วยให้โปรแกรมโหลดเร็วขึ้น

CDN (Content Delivery Networks) : ระบบเครือข่ายของ Server ขนาดใหญ่ที่กระจายอยู่ทั่วโลก ซึ่งมีหน้าที่ในการส่งข้อมูลไปยังปลายทางให้รวดเร็วที่สุด และเพิ่มประสิทธิภาพของการเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้น

CPU (Central Processing Unit) : หน่วยประมวลกลาง ซึ่งทำงานร่วมกับหน่วยความจำภายในตัวเครื่องและหน่วยความจำ RAM เพื่อประมวลผลคำสั่งต่างๆ ที่ผู้ใช้งานสั่งการคอมพิวเตอร์ เปรียบได้กับสมองของมนุษย์

 

หมวดอักษร D

DNS (Domain Name Server) : เป็นตัวแปลงชื่อเว็บไซต์จากที่เป็นตัวหนังสือ ให้กลายเป็นตัวเลขไอพี (เช่น 192.168.1.1) เพื่อให้เว็บไซต์สามารถสร้างชื่อเป็นตัวอักษรได้ และง่ายต่อการจดจำ

 

หมวดอักษร E

Encode : เป็นการเข้ารหัสเพื่อเปลี่ยนข้อมูลจากรูปแบบหนึ่งไปเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง เพื่อให้ข้อมูลสามารถนำไปใช้ต่อได้อย่างปลอดภัย

Encrypt : เป็นการเข้ารหัสเช่นเดียวกับ Encode แต่จะสามารถล็อกรหัสไฟล์ได้ เพื่อให้ผู้ที่มีรหัสเท่านั้นที่สามารถเข้าใช้งานหรือเข้าถึงข้อมูลต้นฉบับได้

Extension : ส่วนเสริมหรือส่วนขยายเพื่อเสริมการทำงานของโปรแกรมหลักให้หลากหลายมากขึ้น

 

หมวดอักษร F

FTP (File Transfer Protocol) : Protocol เครือข่ายชนิดหนึ่งที่ใช้สำหรับถ่ายโอนไฟล์ระหว่างคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อให้มีความปลอดภัยและถ่ายโอนไฟล์ง่ายขึ้น

 

หมวดอักษร G

GPU (Graphics Processing Unit) : หน่วยประมวลผลด้านกราฟิก หรือที่เรียกกันว่าการ์ดจอ ซึ่งมีความสามารถในการประมวลผลข้อมูลได้จำนวนมากในระยะเวลาสั้นๆ และเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการทำงานกราฟิกและการเล่นเกม

GUI (Graphical User Interface) : การใช้ภาพแทนการพิมพ์คำสั่งเพื่อแทนคำสั่งต่างๆ ซึ่งภาพที่ใช้นั้นมักจะมาในรูปแบบ Icon

 

หมวดอักษร H

Harddisk : อุปกรณ์หนึ่งของคอมพิวเตอร์ที่ใช้สำหรับบันทึกข้อมูลต่างๆ เช่น ไฟล์เอกสาร โปรแกรม รูปภาพ เกม ฯลฯ ซึ่งจะถูกบันทึกอยู่ถาวร จนกว่าจะถูกสั่งลบโดยผู้ใช้ หรือโดน Virus รบกวน

Hardware : ชิ้นส่วนต่างๆ ของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่นๆ เช่น สมาร์ทโฟน ที่นำมาประกอบกันเป็นตัวเครื่องซึ่งสามารถทำงานได้ โดยทำงานร่วมกันกับ Software

 

หมวดอักษร I

Internet : เป็นเครือข่ายการเชื่อมต่อขนาดใหญ่ที่ครอบคลุมและเชื่อมโยงอุปกรณ์ (ที่สามารถเชื่อมต่อได้) เข้าไว้ด้วยกัน เพื่อการสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูต่างๆ และอาศัยมาตรฐานเดียวกันในการเชื่อมต่อ

Intranet : เป็นระบบเครือข่ายเฉพาะกลุ่ม (ส่วนมากเป็นระดับองค์กร) สำหรับเชื่อมต่อเฉพาะบุคคลที่ได้รับอนุญาตหรืออยู่ภายในองค์กรเท่านั้น บุคคลภายนอกไม่สามารถใช้งานได้

IP Address : เป็นหมายเลขที่ระบุความแตกต่างในการเชื่อมต่อ Internet ของคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สื่อสารแต่ละชิ้น โดยเลขนั้นจะไม่มีทางซ้ำกันเด็ดขาด

ISP (Internet Service Provider) : ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ที่ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ ตัวอย่าง ISP เช่น AIS Fiber, 3BB, TOT

 

หมวดอักษร L

LAN (Local Area Network) : เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ที่ครอบคลุมพื้นที่จำกัด เช่น บ้าน สำนักงาน

 

หมวดอักษร M

MAN (Metropolitan Area Network) : เครือข่ายการเชื่อมต่อที่ครอบคลุมพื้นที่ในระดับเขต อำเภอ หรือจังหวัด เช่น ระบบโทรศัพท์ท้องถิ่น คลื่นวิทยุท้องถิ่น

 

หมวดอักษร P

Ping : ค่าการตอบสนองความเร็วการเชื่อมต่อ Internet ยิ่งมาก = ความเสถียรต่ำ

Platform : ฐานของระบบต่างๆ ที่ใช้รับส่งข้อมูล เช่น Facebook, Twitter, LINE

Plug-in : ส่วนเสริมหรือส่วนขยายเพื่อเสริมการทำงานของโปรแกรมหลักให้หลากหลายมากขึ้น

Protocol : ข้อกำหนดหรือข้อตกลงในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ 

 

หมวดอักษร R

RAM (Random Access Memory) : หน่วยความจำชั่วคราว มีการทำงานโดยเขียนและบันทึกข้อมูลแบบสุ่ม เพื่อเพิ่มความเร็วในการบันทึกและอ่านข้อมูล ซึ่งเป็นข้อมูลที่บันทึกได้ชั่วคราว เมื่อตัดกระแสไฟฟ้าออกไป ข้อมูลทั้งหมดจะถูกลบทันที

ROM (Read-Only Memory) : หน่วยความจำที่ทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ เช่น ไฟล์เอกสาร ภาพถ่าย โปรแกรม ซึ่งจะสามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ตลอด และข้อมูลจะไม่หายไปเมื่อปิดเครื่อง

Router : อุปกรณ์สำหรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต โดยมีหน้าที่ในการหาเส้นทางและส่งข้อมูลระหว่างเครือข่ายกับคอมพิวเตอร์ ไปยังจุดหมายที่ต้องการ

 

หมวดอักษร S

SEO (Search Engine Optimisation) : การปรับปรุงให้เว็บไซต์สามารถติดอันดับต้นๆ ในการค้นหาบน Search Engine ได้

Software : โปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ทำงานบนอุปกรณ์สื่อสาร เช่น คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน โดยอาศัยการทำงานร่วมกับ Hardware

 

หมวดอักษร T

TCP (Transmission Control Protocol) : Protocol สำหรับส่งข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง และตรวจสอบลำดับข้อมูลให้มีความถูกต้องทั้งทางต้นทางและปลายทาง

 

หมวดอักษร U

URL (Universal Resource Locator) : ที่อยู่ของเว็บไซต์ซึ่งประกอบไปด้วยชื่อโดเมนและส่วนประกอบอื่นๆ ที่จำเป็นในการค้นหาหน้าเว็บ

 

หมวดอักษร W

WWW (World Wide Web) : พื้นที่สำหรับเก็บข้อมูลข่าวสาร ซึ่งเชื่อมต่อกันผ่านอินเทอร์เน็ต

WAN (Wide Area Network) : ระบบเครือข่ายการเชื่อมต่อที่ครอบคลุมพื้นที่กว้าง เช่น เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนถี่

Wi-Fi : เทคโนโลยีการเชื่อมต่อแบบไร้สายที่อาศัยคลื่นวิทยุในการกระจายสัญญาณ โดยมีระยะการกระจายสัญญาณที่จำกัด ทั่วไปไม่เกิน 20 เมตร

 

หมวดอักษร Z

ZIP : นามสกุลไฟล์ที่ถูกบีบอัด ซึ่งภายในประกอบไปด้วยไฟล์ที่บันทึก ไฟล์ ZIP นั้นมักจะมีขนาดที่เล็กกว่าไฟล์ภายในทั้งหมดรวมกัน

 

คำศัพท์ทั้งหมดนั้นมีความสำคัญมาก เพราะมีความหมายที่ตรงกันทั้งโลก สามารถใช้สื่อสารกันได้และเข้าใจเหมือนกันทั้งหมด ดังนั้นหากใช้งานคอมพิวเตอร์บ่อยๆ ก็ควรจะรู้คำศัพท์เหล่านี้ไว้ ทั้งตัวย่อและตัวเต็มนะครับ

 

ขอบคุณข้อมูลจาก https://tips.thaiware.com/1370.html 

บทความที่เกี่ยวข้อง
Jobs aSearcher