มาทำความรู้จัก พ.ร.ก. ฉุกเฉิน กัน!! คืออะไร ทำไมถึงต้องประกาศใช้

มาทำความรู้จัก พ.ร.ก. ฉุกเฉิน กัน!! คืออะไร ทำไมถึงต้องประกาศใช้

รู้จัก, พ.ร.ก.ฉุกเฉิน, คืออะไร, พระราชกำหนด, สถานการณ์, ควบคุม, แนวทาง, ข้อบังคับ, ประกาศ

เมื่อวันที่ 24 มีนาคมที่ผ่านมา หลายคนคงจะได้รู้จักกันไปบ้างแล้วว่าจะมีการออกบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ในวันที่ 26 มีนาคมนี้ และน่าจะสงสัยกันว่าคืออะไร วันนี้เราจะพาไปทุกคนไปทำความเข้าใจกับสิ่งนี้กัน

สำหรับประกาศนี้ก็มีชื่อเรียกแบบเป็นทางการว่า พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งก็เป็นข้อบังคับที่จะประกาศออกมาใช้เพื่อการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 หรือโควิด-19 ที่กำลังแพร่ระบาดกันอยู่ในช่วงนี้นั่นเอง โดยสาระสำคัญของพ.ร.ก.ฉบับนี้นั้น เราจะอธิบายคร่าวๆ เป็นภาษาทั่วไปให้ทุกคนได้เข้าใจง่ายๆ กัน

 

พ.ร.ก.ฉุกเฉิน คืออะไร และสาระสำคัญ

รู้จัก, พ.ร.ก.ฉุกเฉิน, คืออะไร, พระราชกำหนด, สถานการณ์, ควบคุม, แนวทาง, ข้อบังคับ, ประกาศ

พ.ร.ก.ฉุกเฉิน คืออะไรนั้น สรุปคร่าวๆ คือเป็นประกาศที่ร่างขึ้นใช้ในปี พ.ศ.2548 เพื่อควบคุมสถานการณ์อันกระทบ หรืออาจกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ หรืออาจทำให้ประเทศหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของประเทศตกอยู่ในภาวะคับขัน หรือการปัดป้องหรือแก้ไขเยียวยาความเสียหายจากภัยพิบัติ ซึ่งอำนาจการสั่งการทั้งหมดจะอยู่ที่นายกรัฐมนตรี ทำให้การดำเนินงานในช่วงที่มีการประกาศใช้ พ.ร.ก. ฉบับนี้มีการรวมศูนย์ คือแต่ละหน่วยงานรับคำสั่งจากนายกรัฐมนตรีเพียงคนเดียว โดยมีสาระสำคัญคือ 

 

กรณีเป็นประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน นายกรัฐมนตรีสามารถออกข้อกำหนดได้ ดังนี้

รู้จัก, พ.ร.ก.ฉุกเฉิน, คืออะไร, พระราชกำหนด, สถานการณ์, ควบคุม, แนวทาง, ข้อบังคับ, ประกาศ

1. ห้ามบุคคล ออกนอกเคหสถานภายในระยะเวลาที่กำหนด เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่

2. ห้ามชุมนุมหรือมั่วสุมกัน ณ ที่ใดๆ

3. ห้ามแพร่ข่าวที่มีข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว หรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารทำให้เกิดความเข้าใจผิด

4. ห้ามการใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ หรือกำหนดเงื่อนไขการใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ

5. ห้ามการใช้อาคาร หรือเข้าไปหรืออยู่ในสถานที่ใดๆ ที่กำหนด

6. ให้อพยพประชาชนออกจากพื้นที่ที่กำหนดเพื่อความปลอดภัยของประชาชนดังกล่าว หรือห้ามผู้ใดเข้าไปในพื้นที่ที่กำหนด

 

กรณีสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง นายกรัฐมนตรีมีอำนาจดังต่อไปนี้ด้วย

รู้จัก, พ.ร.ก.ฉุกเฉิน, คืออะไร, พระราชกำหนด, สถานการณ์, ควบคุม, แนวทาง, ข้อบังคับ, ประกาศ

1. สามารถสั่งการให้เจ้าหน้าที่จับกุมผู้ที่เชื่อได้ว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ฉุกเฉิน

2. สามารถสั่งการให้เจ้าหน้าที่ออกคำสั่งเรียกให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ฉุกเฉินมารายงานตัวและส่งหลักฐานอื่นใดประกอบการรายงานตัวได้

3. สามารถสั่งการให้เจ้าหน้าที่ยึดหรืออายัดอาวุธ สินค้า เครื่องอุปโภคบริโภค ที่เชื่อได้ว่าจะใช้สนับสนุนการกระทำที่ทำให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน

4. สามารถสั่งการให้เจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งตรวจค้น รื้อ ถอน ทำลายอาคาร สิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งกีดขวาง ตามความจำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อระงับเหตุการณ์ร้ายแรงให้ยุติโดยเร็ว

5. ประกาศห้ามไม่ให้กระทำการใดๆ หรือสั่งให้กระทำการใดๆ เท่าที่จำเป็นแก่การรักษาความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประเทศหรือความปลอดภัยของประชาชน

6. สามารถออกประกาศห้ามออกนอกราชอาณาจักร ในกรณีที่การเดินทางนั้นกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของประเทศชาติ

7. สามารถออกประกาศให้คนต่างด้าวออกนอกราชอาณาจักร ในกรณีที่มีเหตุให้เชื่อได้ว่าคนเหล่านั้นมีส่วนสนับสนุนการกระทำที่ทำให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน ทั้งนี้โดยให้นำกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองมาใช้บังคับโดยอนุโลม

8. สามารถออกประกาศให้การซื้อ ขาย หรือมีไว้ในครอบครองของสิ่งใดก็ตาม ซึ่งอาจใช้ในการก่อความไม่สงบหรือก่อการร้ายต้องรายงานหรือได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่หรือปฏิบัติตามเงื่อนไขที่นายกฯกำหนด

9. ออกคำสั่งให้ใช้กำลังทหารเพื่อช่วยเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองหรือตำรวจระงับเหตุการณ์ร้ายแรง หรือควบคุมสถานการณ์ให้เกิดความสงบโดยด่วน โดยการใช้อำนาจนั้น จะกระทำได้ตามที่นายกรัฐมนตรีกำหนด

 

หมายเหตุ 1 ผู้ได้รับความเสียหายจากการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดนี้ อาจมีสิทธิที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากทางราชการตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่

หมายเหตุ 2 ใช้บังคับตลอดระยะเวลาที่นายกรัฐมนตรีกำหนด แต่ต้องไม่เกิน 3 เดือนนับแต่วันประกาศ ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องขยายเวลา ขยายได้เป็นคราวๆละไม่เกิน 3 เดือน

 

การออกใช้พ.ร.ก.ฉบับนี้ในตอนนี้ก็เพื่อให้การสถานการณ์การระบาดของไวรัส COVID-19 นั้นดีขึ้น ในขณะที่ประกาศใช้ พ.ร.ก. ก็จะช่วยควบคุมให้การบริหารงานนั้นมีความเป็นเสถียรภาพมากขึ้น และมีแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจนกว่าตอนที่ต่างคนต่างแยกกันทำงาน ที่ทำให้ลำดับขั้นตอนดูไม่เป็นเอกภาพสักเท่าไหร่ สุดท้ายนี้เราก็ขอเป็นกำลังใจให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องฝ่าฟันวิกฤตนี้ไปได้ด้วยดีนะครับ

 

ขอบคุณข้อมูลจาก

Posttoday

Prachachat

Bangkokbiznews

บทความที่เกี่ยวข้อง
Jobs aSearcher