ทำความรู้จักงาน Data Scientist คืออะไร มีหน้าที่อะไรบ้าง?

Data Scientist, คืออะไร, มีหน้าที่อะไรบ้าง, Data Science, ความหมาย, ทำงาน, วิเคราะห์, ทักษะ, อาชีพ

ทำความรู้จัก Data Scientist อาชีพที่ตลาดแรงงานทั่วโลกต้องการ!

Data Scientist, คืออะไร, มีหน้าที่อะไรบ้าง, Data Science, ความหมาย, ทำงาน, วิเคราะห์, ทักษะ, อาชีพ

มาทำความรู้จักงาน Data Scientist กันดีกว่าว่ามันคืออะไร? มีหน้าที่อะไรบ้าง? ทำไม่ถึงเป็นอาชีพที่ตลาดแรงงานทั่วโลกต้องการเป็นอย่างมาก และมันสำคัญอย่างไรต่อโลกธุรกิจในยุคปัจจุบัน?

จริงๆ แล้วต้องบอกเลยว่าได้มีคนนิยามและพูดถึง Data Science เอาไว้หลายอย่างมาก จึงเป็นเรื่องยากที่จะหานิยามหรือความหมายที่จำเพาะเจาะจงลงไป แต่หากลองสรุปจากหลายๆ ที่แล้ว ก็จะสรุปได้ความว่ามันคือศาสตร์แห่งการเก็บและเปลี่ยนแปลงข้อมูลไปสู่ความรู้ และเราเรียกคนที่ทำงานทางด้านนี้ว่า Data Scientist

"นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล" คืออะไร และมีหน้าที่อะไรบ้าง?

Data Scientist, คืออะไร, มีหน้าที่อะไรบ้าง, Data Science, ความหมาย, ทำงาน, วิเคราะห์, ทักษะ, อาชีพ

Data Scientist หรือนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล หลายคนอาจจะสงสัยว่าตกลงอาชีพ Data Scientist คืออะไรกันแน่? และมีหน้าที่อะไรบ้าง? ทำหน้าที่เหมือนนักวิทยาศาสตร์หรือนักวิเคราะห์ข้อมูลหรือเปล่า?

จริงๆ แล้วชื่อเรียก Data Scientist ก็มาจากลักษณะงานของอาชีพนี้โดยตรง ที่ทำงานวิเคราะห์ Big Data หรือข้อมูลจำนวนมหาศาลในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจ สร้างสรรค์โปรโมชั่น พัฒนาผลิตภัณฑ์ และยังช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคมากขึ้น แต่ก่อนจะนำข้อมูลไปใช้ ก็ต้องผ่านขั้นตอนการตั้งสมมติฐาน ทดลอง และหาผลลัพธ์ ซึ่งถือเป็นกระบวนการหนึ่งของนักวิทยาศาสตร์ (Scientist) โดยรวมแล้วบทบาทความรับผิดชอบของอาชีพ Data Scientist นั้นค่อนข้างกว้าง ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของแต่ละองค์กร บางคนอาจจะทำหน้าที่วิเคราะห์ข้อมูลเพียงอย่างเดียว ขณะที่บางองค์กรต้องการคนที่สามารถนำข้อมูลมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้

กระบวนการทำงานหลักของ Data Scientist มีอยู่ 5 ขั้นตอน คือ

Data Scientist, คืออะไร, มีหน้าที่อะไรบ้าง, Data Science, ความหมาย, ทำงาน, วิเคราะห์, ทักษะ, อาชีพ

1. การตั้งคำถามที่น่าสนใจ เป็นประโยชน์ต่อองค์กร และสามารถนำเอาข้อมูลมาช่วยแก้ปัญหาได้
2. การค้นหาและจัดเก็บข้อมูล
3. การสำรวจข้อมูล หาแบบแผนความเชื่อมโยงระหว่างกัน
4. การสร้างแบบจำลองเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล
5. การสื่อสารผลลัพธ์ที่ได้ให้เห็นภาพและเข้าใจง่าย

คุณสมบัติของ Data Scientist ประกอบไปด้วย

Data Scientist, คืออะไร, มีหน้าที่อะไรบ้าง, Data Science, ความหมาย, ทำงาน, วิเคราะห์, ทักษะ, อาชีพ

1. การเขียนโปรแกรมและเทคโนโลยี (Hacking Skill)
2. ความรู้ด้านสถิติและคณิตศาสตร์ (Math & Statistics Knowledge)
3. ความรู้เฉพาะทาง (Substantive Expertise หรือ Domain knowledge)

ทักษะที่ Data Scientist ต้องมี

Data Scientist, คืออะไร, มีหน้าที่อะไรบ้าง, Data Science, ความหมาย, ทำงาน, วิเคราะห์, ทักษะ, อาชีพ

1. การเขียนโค้ดโปรแกรมทางสถิติ อย่าง R และ Python ซึ่งเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ยอดนิยมสำหรับ Data Science เนื่องจากเป็นภาษาที่เข้าใจและเรียนรู้ง่ายที่สุดเทียบกับภาษาอื่นๆ
2. สถิติ (Statistics) เช่น Distribution, การทดสอบทางสถิติ, ตัวประเมินแนวโน้มที่เป็นไปได้มากที่สุด (Maximum Likelihood Estimators) สถิติที่เรารวบรวมและวิเคราะห์มาแล้วจะช่วยให้บริษัทสามารถตัดสินใจในเชิงธุรกิจจากข้อมูล ทำให้องค์กรยึดข้อมูลเพื่อดำเนินการ (data-driven Organization)
3. รู้จักใช้ Machine Learning เช่นเทคนิคที่ใช้พัฒนา learning model ใน machine learning เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน (Ensemble Methods), Random Forests ที่ใช้แก้ปัญหาทางสถิติด้วยอัลกอริทึม เช่น regression และ classification และ K-Nearest neighbor ที่เป็นอัลกอริทึมเพื่อหากลุ่มข้อมูลที่ใกล้มากที่สุด
4. สมการเชิงเส้นและแคลคูลัส (Linear Algebra and Calculus) เอาไว้ใช้เพื่อหาตัวเลขเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้สูงสุดภายใต้ข้อจำกัด หรืออย่างน้อยถ้าเราไปสัมภาษณ์ในตำแหน่ง Data Scientist เราก็อาจจะใช้ความรู้ตรงนี้ไปตอบ
5. สื่อสารข้อมูลให้เห็นภาพ (Data Visualization) จึงต้องหัดใช้โปรแกรมอย่าง Power BI และ Tableau ให้เป็น
6. การสื่อสาร (Communication) เพราะไม่ใช่ทุกคนที่จะเข้าใจข้อมูลตัวเลขและภาษาคอมพิวเตอร์ การทำความเข้าใจข้อมูลและเล่าออกมาให้คนที่ไม่รู้เรื่องให้เข้าใจก็เป็นทักษะที่สำคัญ
7. การปรับเปลี่ยนข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบให้พร้อมใช้งาน (Data Wrangling) เพราะไม่ใช่ข้อมูลทุกอย่างที่จะอยู่ในรูปแบบเดียวกัน และข้อมูลที่มีอยู่ในมือต้องได้รับการแก้ไขก่อนที่จะเข้าไปอยู่ในระบบและคิดคำนวณได้
8. วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineering) เพราะเกิดเราต้องทำงานในบริษัทเล็ก เราอาจเป็นคนเดียวในบริษัทที่ต้องจัดการกับข้อมูลมหาศาลเพื่อพัฒนาสินค้าและโซลูชั่น
9. แยกแยะข้อมูลสำคัญ (Data Intuition) เพื่อไว้แก้ปัญหาที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น เพราะบางบริษัทอาจทดสอบเราตอนสมัครงานโดยโยนโจทย์ที่บริษัทกำลังแก้ปัญหาให้เราได้ทดลองคิดก็ได้

ขอบคุณข้อมูลจาก MARKETINGOOPS, jobsDB

บทความที่เกี่ยวข้อง
Jobs aSearcher