ความแตกต่างระหว่าง ผู้นำ VS ผู้นำที่มีภาวะผู้นำ?

ความแตกต่าง, ผู้นำ, ภาวะผู้นำ, Leader, Leadership, บริหาร, ทำงาน, หัวหน้า, ลูกน้อง

ความแตกต่างระหว่าง Leader VS Leadership

ความแตกต่าง, ผู้นำ, ภาวะผู้นำ, Leader, Leadership, บริหาร, ทำงาน, หัวหน้า, ลูกน้อง

เชื่อว่าทุกองค์กรล้วนแล้วแต่ต้องการพนักงานที่ดีที่จะพาองค์กรไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ และสามารถนำพาองค์กรให้ประสบความสำเร็จได้ ซึ่งพฤติกรรมของพนักงานแต่ละคนก็มีความแตกต่างกันไป บางคนก็เป็นผู้นำ บางคนก็เป็นผู้นำที่มีภาวะผู้นำ แต่บางคนก็เป็นผู้ตาม และไม่ว่าพนักงานจะมีพฤติกรรมแบบไหนก็ล้วนมีความสำคัญต่อองค์กรทั้งสิ้น

คำว่า Leader กับคำว่า Leadership เป็นคำที่มีความสัมพันธ์กัน โดย Leader คือ คนที่ได้รับแต่งตั้งขึ้นมาปกครองคน สามารถชักจูงหรือชี้นำคนอื่นให้ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายได้สำเร็จ โดยบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ส่วน Leadership คือ คนที่ไม่ได้มีตำแหน่งอะไรในการปกครองคน แต่มักมีใจในการทำงาน มีความรับผิดชอบสูง ชอบช่วยเหลือคนอื่นและพร้อมให้กำลังใจคนอื่นเสมอหากเกิดความผิดพลาด ซึ่งคนเหล่านี้มักมีพรสวรรค์ของการเป็น Leader เพียงแต่บางครั้งอาจไม่ได้มีตำแหน่งที่สูงในการบริหารงานและบริหารคน แต่ถ้าเรานำคำว่า Leader กับคำว่า Leadership มารวมกันก็จะได้คำว่า "ผู้นำที่มีภาวะผู้นำ"

ผู้นำ VS ผู้นำที่มีภาวะผู้นำ ?

ความแตกต่าง, ผู้นำ, ภาวะผู้นำ, Leader, Leadership, บริหาร, ทำงาน, หัวหน้า, ลูกน้อง

วันนี้เราจะพาทุกคนไปศึกษาและทำความเข้าใจกันว่าความแตกต่างระหว่างผู้นำกับผู้นำที่มีภาวะผู้นำนั้นแตกต่างกันอย่างไร? และคุณมีพฤติกรรมเป็นแบบไหน? เพื่อใช้ในการทบทวนตัวเองหากวันข้างหน้าคุณได้ขึ้นเป็นผู้นำ ไปอ่านกันเลยค่ะ!

ผู้นำ (ไม่รับฟัง)
ผู้นำมักจะไม่รับฟังความคิดเห็นของลูกน้อง เพราะเขาเชื่อมั่นในความคิดของตัวเองว่าดีที่สุด

ผู้นำที่มีภาวะผู้นำ (รับฟัง)
ผู้นำที่มีภาวะผู้นำจะรับฟังความคิดเห็นของลูกน้องเสมอ เพราะเขาเชื่อว่าหากทุกคนช่วยกันออกไอเดียโดยไม่ปิดกั้นความคิดเห็นของกันและกัน ย่อมทำให้การทำงานเกิดการพัฒนาไปในทางที่ดีและเป็นการฝึกให้ลูกน้องกล้าแสดงออกอีกด้วย

ผู้นำ (นั่งอยู่บนหอคอย)
ผู้นำจะไม่ลงไปดูหน้างานเพราะเขามักจะสนใจเพียงงานของตัวเองเพียงอย่างเดียว

ผู้นำที่มีภาวะผู้นำ (ร่วมคิดกับลูกน้อง)
ผู้นำที่มีภาวะผู้นำจะร่วมคิดแก้ไขปัญหาที่หน้างานกับลูกน้อง เพราะเขาเชื่อว่าการเดินดูหน้างานย่อมทำให้เข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นมากกว่าการรอรายงานเพียงอย่างเดียว

ผู้นำ (โทษคนอื่น)
ผู้นำมักจะโยนความผิดให้ลูกน้อง เพราะเขาขาดภาวะความเป็นผู้นำ

ผู้นำที่มีภาวะผู้นำ (รับผิดชอบผลงาน)
ผู้นำที่มีภาวะผู้นำจะออกหน้ารับผิดชอบก่อนลูกน้องเสมอ เพราะเขาคิดว่าตัวเองเป็นคนบกพร่องเองที่ไม่ได้ตรวจสอบงานให้ดีก่อนส่งมอบ และจะใช้ความผิดพลาดที่เกิดขึ้น นำมาพูดคุยกับลูกน้องเพื่อหาทางป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นอีก

ผู้นำ (รับความดีเข้าตัว)
ผู้นำมักจะรับความดีความชอบเข้าตัว เพราะคิดว่าตัวเองเป็นคนคิด วางแผน และตัดสินใจในภาพรวมทั้งหมด ความดีนั้นจึงควรเข้าตัวเองมากกว่าให้ลูกน้อง

ผู้นำที่มีภาวะผู้นำ (ให้ความดีต่อลูกน้อง)
เขาจะคิดเสมอว่า ถึงแม้จะเป็นคนตัดสินใจแต่คนปฏิบัติงานก็คือลูกน้อง ดังนั้นความดีความชอบทั้งหมดก็ควรให้ลูกน้อง เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจที่ดีในการพัฒนางานให้ดีขึ้นในครั้งต่อไป

ผู้นำ (เข้างานสาย)
ผู้นำมักจะคิดว่าตัวเองเข้างานกี่โมงก็ได้เพราะไม่ต้องสแกนนิ้วมือเข้างาน ทำงานในเชิงภาพรวมไม่ต้องปฏิบัติจริงจะเข้างานกี่โมงก็ได้

ผู้นำที่มีภาวะผู้นำ (มาก่อนเวลาเสมอ)
ผู้นำที่มีภาวะผู้นำจะคิดเสมอว่าการจะแนะนำคนอื่นได้ ตัวเองจะต้องเป็นตัวอย่างที่ดี คือ การลงมือทำให้เห็น โดยเฉพาะเรื่องของการมาทำงานที่ต้องมาก่อนเวลาเข้างานอย่างน้อย 30 นาที เพื่อเตรียมพร้อมในการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงที่สุด

ผู้นำ (สั่งอย่างเดียว)
ผู้นำมักจะสั่งงานเพียงอย่างเดียวเพราะเขามีอำนาจที่จะให้ลูกน้องทำงานชิ้นไหนก็ได้ โดยที่ไม่เคยถามลูกน้องว่าทำไหวหรือไม่ไหว

ผู้นำที่มีภาวะผู้นำ (สั่งและสอน)
เพราะเขารู้ว่าหากวันหนึ่งลูกน้องทำงานได้ดีมีความสามารถจะได้มีเวลาไปคิดพัฒนางานด้านอื่นๆ มากกว่าที่ต้องมานั่งปวดหัวแก้ไขปัญหาในจุดเดิมๆ ดังนั้นเขาจะทุ่มเทเวลาส่วนหนึ่งในการพัฒนาลูกน้อง โดยการฝึกให้ลูกน้องทำงานที่สำคัญๆ มากขึ้นเพื่อสร้างลูกน้องให้เก่งคิด เก่งงาน และเก่งคน เพื่อในอนาคตจะได้เติบโตไปเป็นผู้นำที่ดี

ผู้นำ (สนใจแต่เป้าหมาย)
เพราะถูกบีบผลงานจากเบื้องบน จนเกิดความกดดันและคุยแต่งานเพียงอย่างเดียว โดยไม่ใส่ใจความรู้สึกของลูกน้องเลย

ผู้นำที่มีภาวะผู้นำ (ใส่ใจความรู้สึก)
ถึงแม้จะถูกบีบผลงานจากเบื้องบน แต่เขาจะรู้ว่าการทำงานให้ได้เป้าหมายนั้น ต้องเกิดจากความเต็มใจและความสุขของลูกน้อง เขาจะพูดคุยกับลูกน้องทันทีหากเห็นว่ามีสิ่งที่ผิดปกติในการทำงาน เพื่อเคลียร์ปัญหาและหาทางช่วยลูกน้องให้ทำงานได้ดีขึ้น

ผู้นำ (ใช้อารมณ์เหนือเหตุผล)
คนพวกนี้ชอบใช้อารมณ์เวลาที่ไม่ได้ดั่งใจ โดยเฉพาะผลงานที่เกิดความผิดพลาด

ผู้นำที่มีภาวะผู้นำ (ใช้เหตุผลนำอารมณ์)
เพราะเขารู้ว่า การโมโห หงุดหงิด เครียด ฯลฯ เป็นสาเหตุของความทุกข์ สู้ใช้สติในการแก้ไขปัญหาดีกว่า เพราะหากใช้แต่อารมณ์ก็จะทำให้ลูกน้องไม่กล้าเข้าหาและเกิดรอยร้าวในการทำงานได้

ผู้นำ (เลือกที่รักมักที่ชัง)
คนพวกนี้หากเจอลูกน้องประเภทประจบประแจง สอพลอ มักจะรักลูกน้องคนนั้นมากๆ ถึงแม้ผลงานจะไม่ได้เรื่องเลยก็ตาม

ผู้นำที่มีภาวะผู้นำ (มีความยุติธรรม)
เพราะการปกครองคนนั้น หากลำเอียงและไม่ได้มองที่ผลงานเป็นหลักย่อมส่งผลต่อขวัญและกำลังใจในการทำงาน สุดท้ายก็อาจทำให้ลูกน้องที่ทำงานอย่างตั้งใจ แต่ไม่ใช่ลูกรักเกิดความน้อยเนื้อต่ำใจจนผลงานที่ออกมาไม่ได้ประสิทธิภาพ

ผู้นำ (ไม่วางแผน)
ผู้นำจะคิดว่าทุกงานสามารถโยนให้ลูกน้องเป็นคนปฏิบัติได้ แล้วตัวเองก็แค่ควบคุมให้ได้ผลงานเพียงอย่างเดียว

ผู้นำที่มีภาวะผู้นำ (วางแผนงานเสมอ)
ผู้นำที่มีภาวะผู้นำจะคิดว่าการวางแผนถึงแม้ไม่ได้การันตีถึงความสำเร็จ แต่การวางแผนที่ดีรู้จักมองการณ์ไกล คาดการณ์อนาคตจะทำให้ผลงานออกมาดีในเชิงรูปธรรมมากกว่านั่งเทียนเขียนรายงาน และสร้างแบบอย่างที่ดีถ่ายทอด DNA ไปสู่ลูกน้องให้รู้จัก คิด วางแผน และทำงานอย่างมีระบบ มีแบบแผน มากกว่าทำงานตามใจฉัน

ขอบคุณข้อมูลจาก DR.Fish

บทความที่เกี่ยวข้อง
Jobs aSearcher