MBO คืออะไร? แตกต่างจาก KPI และ OKR อย่างไร?

MBO, คืออะไร, แตกต่างอย่างไร, KPI, OKR, หลักการบริหาร, ตั้งเป้าหมาย, วัตถุประสงค์, ประเมินผล

อะไรคือหลักการบริหารงานแบบ MBO ?

MBO, คืออะไร, แตกต่างอย่างไร, KPI, OKR, หลักการบริหาร, ตั้งเป้าหมาย, วัตถุประสงค์, ประเมินผล

MBO คืออะไร? แตกต่างอย่างไรกับหลักการบริหารงานแบบอื่นๆ วันนี้เรามีคำตอบค่ะ! ต้องบอกเลยว่าการบริหารงานไม่ว่าจะในองค์กรเล็กหรือองค์กรใหญ่ต่างก็ต้องมีการตั้งเป้าหมายในการดำเนินการกันทั้งนั้น หากองค์กรไหนไม่มีการตั้งเป้าหมายแล้วล่ะก็อาจจะไม่รู้ว่าจะต้องเดินไปในทิศทางไหนดี?

ซึ่งการตั้งเป้าหมายนั้นก็มีหลากหลายวิธีมาก โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันนี้ที่มีการคิดหลักการบริหารขึ้นมามากมายให้องค์กรได้เลือกลองนำไปปรับใช้ให้เหมาะสม และหนึ่งในหลักการที่หลายองค์กรนิยมนำมาปรับใช้ก็คือ MBO นั่นเองค่ะ โดยหลักการบริหารแบบ MBO นั้น ถือเป็นหลักการที่เป็นที่นิยมในหลายองค์กรตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แต่หลายองค์กรก็อาจนำไปประยุกต์ใช้กับองค์กรของตนเพื่อให้เกิดความเหมาะสม หรือองค์กรที่ต้องการความชัดเจนมากขึ้น เป็นองค์กรที่กระตือรือร้นกับการทำงาน หรือองค์กรที่อยู่ในธุรกิจที่มีการแข่งขันสูง ก็อาจเลือกใช้ KPI หรือ OKR เพื่อสร้างประสิทธิภาพที่ดีขึ้นได้ ในอีกทางหนึ่งบางองค์กรก็ใช้แบบผสมผสานกัน

Management by Objective คืออะไร? แตกต่างจาก KPI และ OKR อย่างไร?

MBO, คืออะไร, แตกต่างอย่างไร, KPI, OKR, หลักการบริหาร, ตั้งเป้าหมาย, วัตถุประสงค์, ประเมินผล

MBO คืออะไร? แตกต่างจาก KPI และ OKR อย่างไร? ถ้าให้อธิบายง่ายๆ MBO นั้นย่อมาจาก Management by Objective หรือ การบริหารงานตามวัตถุประสงค์ หรือบางครั้งก็เรียกว่า การบริหารงานโดยกำหนดเป้าหมาย

โดยที่ MBO นั้นจะมีการกำหนดวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายร่วมกันระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา โดยเป็นการเชื่อมหน้าที่ทางการบริหารงานระหว่างการวางแผนและการควบคุมการทำงานเข้าด้วยกัน แล้วผู้ใต้บังคับบัญชาก็มีภาระหน้าที่ตลอดจนความรับผิดชอบที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยมีผู้บังคับบัญชาคอยวางแผน ควบคุมการทำงาน ตลอดจนกระตุ้นให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อให้บรรลุได้อย่างประสบผลสำเร็จ

การบริหารงานแบบ MBO นี้จะทำให้เจ้านายกับลูกน้องต้องหันหน้าเข้าหากัน เพื่อหารือ พูดคุย ตลอดจนประสานการทำงานร่วมกัน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตลอดจนเป้าหมายเดียวกันที่ได้ร่วมกันวางไว้นั่นเอง ซึ่งการที่จะทำงานร่วมกันได้ดีอย่างไม่มีปัญหานั้นก็ต้องมีความเข้าใจที่ตรงกัน ชัดเจน ตลอดจนมีการสื่อสารสองทางที่ดีระหว่างกันด้วย

MBO นั้นกลับมาเป็นที่นิยมในยุคปัจจุบันอีกครั้ง จนหลายคนคิดว่าหลักการบริหารนี้เป็นหลักการบริหารรุ่นใหม่ที่เพิ่งถูกคิดค้นขึ้นมาเมื่อไม่นานมานี้ แต่อันที่จริงแล้ว MBO คือหลักการบริหารเก่าแก่ที่ยังคงคลาสสิก ร่วมสมัย และใช้ได้ดีเสมอมา ผู้ที่ให้กำเนิดหลักการนี้ก็คือ ดร.ปีเตอร์ ดรักเกอร์ (Prof. Dr. Peter F. Drucker) นักวิชาการชาวอเมริกัน ซึ่งเขาได้เขียนแนวคิดนี้ไว้ในหนังสือของเขาที่ชื่อ The Practice of Management Drucker ที่ได้รับการตีพิมพ์ในช่วงปี ค.ศ.1954 และได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดี รวมถึงเป็นหลักการบริหารที่หลายองค์กรนำไปใช้แล้วประสบความสำเร็จได้ดีเยี่ยมทีเดียว

MBO แตกต่างจาก OKR และ KPI อย่างไร?

MBO, คืออะไร, แตกต่างอย่างไร, KPI, OKR, หลักการบริหาร, ตั้งเป้าหมาย, วัตถุประสงค์, ประเมินผล

OKR นั้นย่อมาจาก Objectives and Key Results คือ วิธีการตั้งเป้าหมายขององค์กรที่สามารถตั้งได้ตั้งแต่ระดับบุคคล แผนก ไปจนถึงองค์กรใหญ่ แต่ต้องมีความสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน โดยจะต้องมีองค์ประกอบของวัตถุประสงค์หลัก (Objective) และผลลัพธ์ที่คาดหวังจะให้สำเร็จ ซึ่งมันสามารถบ่งบอกวิธีการทำงาน ดำเนินการ ตลอดจนบริหารจัดการต่างๆ เพื่อให้บรรลุผลได้

OKR เป็นหนึ่งในหลักการบริหารที่โด่งดังและเป็นที่นิยมในปัจจุบัน โดยเฉพาะเมื่อบริษัทยักษ์ใหญ่ที่โด่งดังระดับโลกอย่าง Google นำไปใช้แล้วประสบความสำเร็จในการบริหารจัดการองค์กรเป็นอย่างมาก OKR ก็เลยกลายเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่หลายองค์กรให้ความเชื่อถือและนำไปปรับใช้กับองค์กรมากมายเช่นกัน

หลายคนคิดว่า OKR นั้นมีคนสร้างสรรค์มันขึ้นมาเอง และเป็นหลักการบริหารยุคใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่นาน แต่ความจริงแล้ว OKR นั้นก็มีมานานแล้ว แถมเป็นการนำเอาหลักการดั้งเดิมอย่าง MBO มาประยุกต์ใหม่ให้เหมาะสมด้วย โดยนักบริหารชื่อดังอย่าง Andy Grove ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น Father of OKRs เคยนำเอาหลักการบริหารนี้ไปใช้กับบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Intel ในสมัยที่เขาเป็น CEO อยู่ที่นั่น โดยปรับปรุงมาจากหลักการ MBO อย่างที่ได้เล่าไปแล้วนั่นเอง และก็ประสบความสำเร็จด้วยดีอีกด้วย หลังจากนั้น John Doerr ผู้ที่เคยร่วมงานกับ Andy Grove มาก่อน ก็ได้นำเอาหลักการบริหารแบบ OKR นี้มาใช้กับ Google จนทำให้ Google ประสบความสำเร็จและโด่งดังอย่างทุกวันนี้ และแน่นอนว่ามันทำให้หลักการบริหาร OKR โด่งดังขึ้นและเป็นหลักการบริหารยอดนิยมไปในที่สุดด้วย

ส่วน KPI นั้นย่อมาจาก Key Performance Indicator คือ ดัชนีชี้วัดความสำเร็จของงาน ซึ่งดัชนีนี้จะเป็นบรรทัดฐานที่จะใช้บ่งบอกว่าการทำงานนั้นๆ ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้หรือไม่ มากน้อยเพียงไร และสำเร็จหรือล้มเหลว ซึ่งดัชนีชี้วัดนี้จะเป็นเสมือนเป้าหมายสำคัญที่จะต้องบรรลุให้ได้ ส่วนมากมักใช้กับการประเมินผลการทำงาน แล้วดัชนีนี้ก็ได้รับความนิยมมากที่สุดในยุคปัจจุบันอีกด้วย

ทุกหลักการล้วนแล้วแต่เป็นการกำหนดวัตถุประสงค์ในการปฎิบัติงานให้ชัดเจนและมีแก่นยึด โดยแต่ละหลักการจะแตกต่างกันด้วยรายละเอียด ตลอดจนวิธีการที่ต่างกันไป ซึ่งความแตกต่างนั้นมีดังนี้

1. การกำหนดผลลัพธ์ที่คาดหวัง

MBO, คืออะไร, แตกต่างอย่างไร, KPI, OKR, หลักการบริหาร, ตั้งเป้าหมาย, วัตถุประสงค์, ประเมินผล

หลักการที่มีการกำหนดผลลัพธ์ที่คาดหวังชัดเจนที่สุดก็คือ OKR ที่แตกต่างจาก MBO ที่มีแต่การตั้งวัตถุประสงค์เท่านั้น โดยไม่มีผลลัพธ์ที่คาดหวังให้เห็นเป้าร่วมกัน การมีผลลัพธ์จะทำให้เราเห็นเป้าหมายได้ชัดเจนยิ่งขึ้น และนำไปสู่การคิดวิธีการปฎิบัติการที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ส่วน KPI นั้นจะมีลักษณะเป็นการกำหนดเกณฑ์ชี้วัดมากกว่า ซึ่งบางครั้งก็คือการคาดหวังผลได้เช่นกัน เพราะการบรรลุผลได้ก็คือการผ่านเกณฑ์ชี้วัด KPI นั่นเอง แต่บางครั้งการตั้ง KPI ก็อาจไม่ได้คำนึงเป็นลักษณะผลลัพธ์เช่นกัน ดังนั้นจึงขึ้นอยู่กับการตั้ง KPI ของแต่ละองค์กร

2. ความชัดเจนของการปฎิบัติงาน

MBO, คืออะไร, แตกต่างอย่างไร, KPI, OKR, หลักการบริหาร, ตั้งเป้าหมาย, วัตถุประสงค์, ประเมินผล

แน่นอนว่า OKR เป็นหลักการที่ชัดเจนที่สุดที่จะสะท้อนถึงการวางแผนปฎิบัติการอย่างเป็นรูปธรรม เพราะมีผลที่คาดหวังไว้ชัดเจน ทำให้เกิดการสร้างการปฎิบัติการที่ชัดเจนตามมา รวมถึงเป็นแนวทางในการปฎิบัติการได้ชัดขึ้น ในส่วนของ MBO นั้นมีแค่การกำหนดวัตถุประสงค์ร่วมกัน ส่วนการดำเนินการจะชัดเจนหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับการพูดคุยกันตลอด รวมไปถึง Performance ของหัวหน้างานและลูกน้องในแต่ละองค์กรด้วย ในด้าน KPI ก็เช่นกัน ไม่ได้มีการกำหนดหลักการปฎิบัติงานที่แท้จริงอย่างชัดเจน ขอแค่ทำให้ผ่านมาตรฐานตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ ไม่ว่าจะวิธีใดก็ตามก็ถือว่าโอเคทุกอย่าง เน้นที่ผลลัพธ์และเกณฑ์ชี้วัดมากกว่า

3. ระยะเวลาในการประเมินผล

MBO, คืออะไร, แตกต่างอย่างไร, KPI, OKR, หลักการบริหาร, ตั้งเป้าหมาย, วัตถุประสงค์, ประเมินผล

โดยทั่วไปแล้ว MBO กับ KPI มักจะมีการประเมินผลกันปีละครั้ง แต่ OKR มักจะมีการประเมินผลกันเป็นรายไตรมาสหรือทุกๆ 3 เดือน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับการกำหนดของแต่ละองค์กรด้วย

4. ลักษณะการสั่งการ

MBO, คืออะไร, แตกต่างอย่างไร, KPI, OKR, หลักการบริหาร, ตั้งเป้าหมาย, วัตถุประสงค์, ประเมินผล

MBO นั้นมีลักษณะการสั่งการแบบ บนลงล่าง (Top-Down) แบบผู้บริหารเป็นคนกำหนดหรือนำในการปฎิบัติการ แต่ OKR มักจะเป็นการสั่งการแบบ ล่างขึ้นบน (Bottom-Up) คือให้ลูกน้องทุกคนออกความเห็นร่วมกัน แชร์ข้อมูลกัน โดยมีหัวหน้าเป็นที่ปรึกษาและแนะนำแนวทาง สุดท้ายก็จะมากำหนดร่วมกันเพื่อปฎิบัติร่วมกัน เพราะผลลัพธ์ในหลักการ OKR นั้นหากไม่ได้คิดร่วมกันก็จะไม่มีความหมาย ไม่เข้าใจ และไม่อินกับการทำงานได้ ในส่วนของ KPI นั้นส่วนใหญ่ก็มักจะเป็นแบบ บนลงล่าง (Top-Down) คือเป็นดัชนีที่องค์กรกำหนดให้เป็นมาตรฐานสำหรับทุกคน แต่ก็มีหลายองค์กรโดยเฉพาะองค์กรขนาดไม่ใหญ่มากนักที่มีการร่วมกันกำหนด KPI ด้วยกัน

5. ตัวชี้วัด

MBO, คืออะไร, แตกต่างอย่างไร, KPI, OKR, หลักการบริหาร, ตั้งเป้าหมาย, วัตถุประสงค์, ประเมินผล

แน่นอนว่าหลักการที่มีตัวชี้วัดชัดเจนที่สุดก็คือ KPI เพราะเป็นการกำหนดขึ้นเพื่อชี้วัดเลยว่าผ่านเกณฑ์หรือไม่ผ่านเกณฑ์ สำเร็จหรือล้มเหลว ในส่วนของ OKR นั้นผลลัพธ์ก็คือเป็นตัวชี้วัดที่ชัดเจนได้เช่นกัน เป็นเสมือนเกณฑ์ของความสำเร็จ แต่ผลลัพธ์นั้นอาจไม่ใช่เป็นเกณฑ์ในลักษณะดัชนีชี้วัดเหมือนกับ KPI เสมอไป อาจเป็นเกณฑ์ที่ตั้งเป้าหมายไว้ และไม่เกี่ยวกับการวัดผลใดๆ ในส่วนของ MBO นั้นมีแต่การตั้งวัตถุประสงค์เฉยๆ ไม่มีตัวชี้วัดความสำเร็จใดๆ ที่ชัดเจน หากทำแล้วบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ก็คือว่าประสบความสำเร็จ ซึ่งหากมีการตั้งวัตถุประสงค์ที่ดีก็อาจจะกลายเป็นเกณฑ์การชี้วัดที่ดีไปในตัว แต่หากตั้งวัตถุประสงค์ที่ไม่ดี ไม่ชัดเจน หรือจับต้องไม่ได้ ก็อาจนำมาใช้ชี้วัดอะไรไม่ได้เลยเช่นกัน

6. จุดมุ่งหมายและแรงกระตุ้นการทำงาน

MBO, คืออะไร, แตกต่างอย่างไร, KPI, OKR, หลักการบริหาร, ตั้งเป้าหมาย, วัตถุประสงค์, ประเมินผล

หากพูดถึงเรื่องจุดมุ่งหมายและแรงกระตุ้นการทำงาน หลักการที่มีศักยภาพมากที่สุดคงต้องยกให้กับ OKR และ KPI เพราะมีผลลัพธ์และเกณฑ์ชี้วัดที่ชัดเจนที่เป็นเสมือนเส้นชัยของการแข่งขันวิ่งในสนาม ที่เราทุกคนจะต้องวิ่งเข้าเส้นชัยให้ได้ ในส่วนของ MBO นั้นอาจมีการตั้งวัตถุประสงค์ซึ่งก็เป็นจุดหมายที่ชัดเจนได้เช่นกัน แต่อาจไม่กระตุ้นให้เกิดการทำงานได้ดีเท่าที่ควรเพราะต้องขึ้นอยู่กับการวางแผนงาน การปฎิบัติการ ไปจนถึงทิศทางที่วางไว้ในแต่ละครั้ง อาจเปรียบได้เหมือนกับการเดินพิชิตยอดเขา ที่เราเห็นจุดที่เราจะต้องพิชิตได้ชัดเจน แต่ก็มีเส้นทางให้เลือกมากมายแล้วแต่ใครจะเลือกทางไหน แล้วจะวิ่งหรือเดินก็แล้วแต่คนเช่นกัน หรือมีกลยุทธ์ทางลัดที่จะทำให้พิชิตได้เร็วก็ขึ้นอยู่กับการวางแผนในแต่ละองค์กร

ขอบคุณข้อมูลจาก HR NOTE.asia

บทความที่เกี่ยวข้อง
Jobs aSearcher