Lay off พนักงานอย่างไรให้จากกันด้วยดี

Lay off พนักงานอย่างไรให้จากกันด้วยดี

Lay off, อย่างไร, จากกันด้วยดี, ปลดพนักงาน, ฝ่ายบุคคล, ลดค่าใช้จ่าย, ความรู้สึก, ผลกระทบ, เงินชดเชย

สิ่งหนึ่งที่ HR ในหลายองค์กรจำเป็นต้องทำ และมักจะสร้างความลำบากใจให้กับฝ่าย HR ไม่น้อย นั่นก็คือการ Lay off พนักงานนั่นเอง โดยส่วนมาก แต่ละองค์กรมักจะไม่อยากให้สิ่งนี้เกิดขึ้นทั้งนั้น เพราะเป็นการสูญเสียทรัพยากรบุคคลที่จะทำงานให้กับบริษัท และส่งผลต่อจำนวนงานที่จะเกิดขึ้นนั่นเอง แต่เมื่อมีสถานการณ์ต่างงๆ บีบบังคับ ก็ทำให้บริษัทนั้นจำเป็นจะต้องเลย์ออฟพนักงานบางส่วนออก ซึ่งมักจะเกิดเหตุการณ์แบบนี้ในช่วงที่สภาพเศรษฐกิจนั่นถดถอย ที่จะเห็นได้ชัดที่สุดในช่วงนี้ก็คงหนีไม่พ้นวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ในช่วงที่ผ่านมา ที่ธุรกิจในหลายภาคส่วนนั้นกระทบเป็นวงกว้าง และหลายบริษัทก็จำเป็นต้องเลย์ออฟพนักงานกันนั่นเอง ดังนั้นหากองค์กรไหนที่มีความจำเป็นต้องเลย์ออฟพนักงาน แต่ไม่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไรให้พนักงานและองค์กรนั้นจากกันด้วยดี ไม่มีความบาดหมางต่อกัน วันนี้เราก็มีคำแนะนำดีๆ มาฝากกันครับ

การเลย์ออฟพนักงานนั้น ก็คือการปลดพนักงานในบางตำแหน่งออกจากบริษัทนั่นเอง ซึ่งการประเมินว่าพนักงานคนใดจะถูกปลดออกนั้น มักจะขึ้นอยู่กับฝ่ายบุคคลหรือ HR เป็นหลัก เพราะฝ่าย HR จะเป็นผู้ที่ Track ประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานเป็นรายบุคคลอยู่ตลอดเวลา นอกจากนั้น ปัจจัยหลักอีกอย่างที่จะทำให้เกิดการเลย์ออฟพนักงาน นั่นก็คือปัญหาเศรษฐกิจนั่นเอง ซึ่งถ้าปัญหานั้นกระทบกับองค์กรมาก ก็มีความจำเป็นจะต้องลดค่าใช้จ่ายโดยการลดทรัพยากรบุคคลออกไป ดังนั้นถ้าองค์กรเกิดวิกฤตที่จำเป็นจะต้องลดพนักงาน องค์กรก็ควรที่จะประเมินสิ่งต่างๆ อย่างรอบด้านและคิดค้นวิธีการชดเชยให้พนักงานนั้นไม่รู้สึกในแง่ลบกับองค์กร เพราะแน่นอนว่า เมื่อต้องให้พนักงานคนใดคนหนึ่งก็ตามออกจากบริษัทไป ย่อมส่งผลกระทบต่อทัศนคติของพนักงานที่มีต่อองค์กรอย่างแน่นอน

 

เลย์ออฟอย่างไร ให้จากกันด้วยดี

Lay off, อย่างไร, จากกันด้วยดี, ปลดพนักงาน, ฝ่ายบุคคล, ลดค่าใช้จ่าย, ความรู้สึก, ผลกระทบ, เงินชดเชย

การเลย์ออฟพนักงานนั้น จะทำอย่างไรให้พนักงานกับบริษัทจากกันด้วยดี วันนี้เราก็มีวิธีดีๆ มาแนะนำทุกท่านกันครับ

 

1. ประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการ Lay off พนักงาน

Lay off, อย่างไร, จากกันด้วยดี, ปลดพนักงาน, ฝ่ายบุคคล, ลดค่าใช้จ่าย, ความรู้สึก, ผลกระทบ, เงินชดเชย

การ Lay off พนักงานในแต่ละครั้งย่อมส่งผลกระทบต่อพนักงานทั้งที่ยังทำงานอยู่และโดนปลดไปอย่างแน่นอน แต่การจะทราบว่าผลกระทบนั้นมากน้อยแค่ไหน ต้องทำการประเมินไว้ล่วงหน้า ซึ่งสามารถใช้วิธีการอย่าง Stakeholder Analysis เพื่อจำแนกพนักงานที่มีโอกาสได้รับผลกระทบจากการ Lay off ออกเป็น 4 กลุ่ม ซึ่งสามารถจำแนกประเภทได้ดังนี้

1.1 กลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด กลุ่มนี้จะเป็นพนักงานที่ถูกปลด เพื่อนร่วมงาน หัวหน้า เจ้านาย หรือลูกน้องของผู้ที่ถูกปลดออก ซึ่งจะได้รับผลกระทบในแง่ของการทำงานที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลง หรือภาระงานที่จะเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นพนักงานในกลุ่มนี้ต้องได้รับการสื่อสารให้เข้าใจอย่างทั่วถึงก่อนที่จะมีการปลดพนักงานออก และ HR จะต้องทำความเข้าใจในภาระงานที่เพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงให้กำลังพนักงานในกลุ่มนี้มากเป็นพิเศษ

1.2 กลุ่มที่ไม่มีความใกล้ชิดกับพนักงานที่ถูกปลด แต่ได้รับผลกระทบมาก กลุ่มนี้จะเป็นพนักงานที่ทำ

งานร่วมกับพนักงานที่ถูกปลด แต่อยู่คนละส่วนงาน หรือเป็นลูกค้าหรือบุคคลภายนอกที่ต้องติดต่อธุรกิจกับพนักงานที่ถูกปลดอยู่เป็นประจำ บุคคลในกลุ่มนี้จะเป็นต้องได้รับการติดต่อสื่อสารในเบื้องต้น และ HR จำเป็นต้องประสานงานให้มีบุคคลอื่นสำหรับติดต่อดำเนินงานแทนพนักงานที่ถูกปลดในเวลาอันรวดเร็ว เพื่อให้การดำเนินงานสามารถทำต่อไปได้อย่างราบรื่น

1.3 กลุ่มที่มีความใกล้ชิดกับพนักงานที่ถูกปลด แต่ได้รับผลกระทบน้อย กลุ่มนี้จะเป็นพนักงานที่ไม่ได้ทำงานกับผู้ที่ถูกปลดโดยตรง แต่มีความสนิทสนมกับพนักงานท่านนั้นเป็นพิเศษ HR ควรจะชี้แจ้งให้พนักงานกลุ่มนี้เข้าใจอย่างชัดเจน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดข่าวลือที่อาจจะส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของบริษัทขึ้น และให้กำลังใจพนักงานกลุ่มนี้ที่อาจจะเสียขวัญกับการที่เพื่อนของตนนั้นโดนปลดออกจากการทำงาน

1.4 กลุ่มที่ไม่มีความใกล้ชิดกับพนักงานที่ถูกปลด และได้รับผลกระทบน้อย กลุ่มนี้จะเป็นพนักงานที่ไม่ได้ทำงานกับผู้ที่ถูกปลดโดยตรง และไม่มีความสนิทสนมกับพนักงานท่านนั้น บุคคลกลุ่มนี้ควรได้รับการสื่อสารที่ตรงไปตรงมาจาก HR ว่าสาเหตุใดจึงปลดพนักงานออก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดข่าวลือที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ขององค์กรขึ้น

 

2. มี Empathy ต่อพนักงานที่ถูก Lay Off

Lay off, อย่างไร, จากกันด้วยดี, ปลดพนักงาน, ฝ่ายบุคคล, ลดค่าใช้จ่าย, ความรู้สึก, ผลกระทบ, เงินชดเชย

Empathy หรือความเห็นอกเห็นใจนั้น เป็นสิ่งที่ควรมีอยู่แล้ว และการที่ HR ต้อง Lay off พนักงานออกไป ย่อมส่งผลให้เกิดความเห็นอกเห็นใจเป็นพิเศษอยู่แล้ว ดังนั้น HR เมื่อจำเป็นต้อง Lay off พนักงานท่านใดออกไป ก็ควรที่จะทำความเข้าใจพนักงาน อธิบายให้พนักงานทราบถึงสวัสดิการที่ควรได้เมื่อโดนปลด และอาจจะรวมไปถึงให้กำลังใจพนักงาน หรือช่วยเหลือพนักงานให้สามารถหางานใหม่ได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งการเตรียมตัวในข้อนี้ อาจจะศึกษาจาก Checklist เหล่านี้ได้ครับ

  • ศึกษาข้อมูลของพนักงานอย่างรอบด้าน ทั้งข้อมูลทั่วไป และด้านอื่นๆ เช่น ความสัมพันธ์กับพนักงานท่านอื่น หรือสาเหตุที่ถูกเลิกจ้าง
  • ในช่วง 10 นาทีแรกที่สนทนากับพนักงาน ควรฟังให้มากกว่าพูด และรับฟังอย่างเข้าอกเข้าใจ
  • ค้นหาสิ่งที่ทำให้พนักงานกังวลมากที่สุดเมื่อถูกเลิกจ้าง
  • แจ้งสิทธิต่างๆ ที่พนักงานต้องได้รับเมื่อถูกเลิกจ้าง โดยเชื่อมโยงเข้ากับสิ่งที่พนักงานกังวลใจด้วย
  • ให้กำลังใจกับพนักงาน
  • ช่วยส่งเสริมการหางานในอนาคตให้กับพนักงาน เช่น แนะนำ CV ของพนักงานให้กับ HR ในองค์กรอื่นที่รู้จัก

ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้พนักงานไม่ต้องกังวลกับอนาคตหลังจากถูกเลิกจ้างจนเกินไป และเป็นการแสดงความจริงใจที่ดีอีกด้วย

 

3. วางแผนการสื่อสารให้เหมาะสม

Lay off, อย่างไร, จากกันด้วยดี, ปลดพนักงาน, ฝ่ายบุคคล, ลดค่าใช้จ่าย, ความรู้สึก, ผลกระทบ, เงินชดเชย

การเลิกจ้างหรือปลดพนักงานนั้นถือว่าเป็นเรื่องที่อาจจะทำให้พนักงานทั้งบริษัทนั้นรู้สึกไม่ดีหรือมีการพูดกันไปต่างๆ นานาเอาได้ ดังนั้นในการที่จะต้องประกาศว่ามีการปลดพนักงานนั้น ผู้ประกาศหรือทีม HR ควรจะมีการวางแผนในการสื่อสารที่ดี เพื่อให้พนักงานทุกคนเข้าใจตรงกัน และเกิดผลกระทบในแง่ลบกลับมาน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งสามารถศึกษาจากแนวทางที่เราแนะนำ ดังนี้ครับ

  • ชี้แจงสิ่งที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง
  • ไม่กล่าวโทษพนักงาน หัวหน้า หรือใคร (พูดแบบกลางๆ)
  • สื่อสารด้วยความจริงใจ
  • ชี้แจงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นเมื่อมีการ Lay off พนักงาน
  • แจ้งล่วงหน้าก่อนจะมีการเลิกจ้างอย่างน้อย 30 วัน
  • ชี้แจงถึงสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับหากมีการเลิกจ้าง

 

การเลิกจ้างนั้นแน่นอนว่าไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น เพราะนอกจากจะส่งผลให้ผู้ที่ถูกเลิกจ้าง รวมไปถึงผู้ว่าจ้างเกิดความรู้สึกที่ไม่ดีแล้ว ก็ยังทำให้สถานะภาพของผู้ถูกเลิกจ้างนั่นสั่นคลอน แต่เมื่อเกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจและมีความจำเป็นที่จะต้องเลิกจ้างพนักงาน แต่ละองค์กรก็ต้องยอมรับสภาพในการเลิกจ้างพนักงานเพื่อให้บริษัทยังสามารถดำเนินงานต่อไปได้อย่างไม่ยากลำบากนัก ซึ่งถ้าบริษัทนั้นมีการชดเชยให้กับพนักงานที่ดี เช่น ให้เงินชดเชยตามกฏหมาย หรือบวกพิเศษเพิ่มเติมเข้าไป หรือส่งเสริมพนักงานที่ถูกปลดให้สามารถหางานใหม่ได้ง่ายขึ้น เพียงเท่านี้พนักงานก็จะไม่มององค์กรในแง่ลบอย่างแน่นอนครับ

บทความที่เกี่ยวข้อง
Jobs aSearcher