ทำความรู้จัก Startup ธุรกิจสไตล์ใหม่ เติบโตไวกว่าที่คิด

ทำความรู้จัก Startup ธุรกิจสไตล์ใหม่ เติบโตไวกว่าที่คิด

รู้จัก, Startup, ธุรกิจ

ในยุคสมัยใหม่ๆ นี้ หลายคนคงได้เห็นบริษัทหลากหลายรูปแบบที่ก่อตั้งกันเป็นจำนวนมาก และเป็นรูปแบบที่เราไม่เคยได้เห็นมาก่อน หรืออาจจะพัฒนาจากบริษัทในรูปเดิมขึ้นมา โดยเป็นที่รู้จักกันว่าประเภทนี้เป็นบริษัทแบบ Startup หรือธุรกิจสตาร์ทอัพนั่นเอง เราไปดูกันว่าจริงๆ แล้ว สตาร์ทอัพเป็นอย่างไร

 

สำหรับสตาร์ทอัพนั้น เป็นรูปแบบหนึ่งของธุรกิจที่ก่อตั้งเพื่อแนวคิดในการแก้ปัญหาอะไรสักอย่างหนึ่ง และเพื่อมองหาโมเดลของธุรกิจที่สามารถทำซ้ำและขยายได้ ซึ่งการตั้งบริษัทขึ้นมาอาจจะไม่ได้เพื่อแก้ปัญหาอะไรสักอย่าง แต่เป็นเพียงการตั้งขึ้นมาเพื่อรองรับหรือสนับสนุนการทำงานของบริษัทใหญ่ โดยสตาร์ทอัพก็มักจะนำเทคโนโลยีมาใช้เป็นแกนหลักในการดำเนินงาน ทำให้ส่วนมากสตาร์ทอัพนั้นเติบโตได้อย่างรวดเร็ว และประสบความสำเร็จได้อย่างง่ายดาย

 

หลายคนอาจจะสงสัยว่าแล้วอย่างนี้สตาร์ทอัพจะเหมือนกับ SME หรือเปล่า ก็บอกได้เลยว่ามีส่วนที่คล้ายกันแต่ก็ไม่เหมือนกันซะทีเดียว สิ่งที่เหมือนกันของ SME และสตาร์ทอัพก็คือว่าเป็นธุรกิจที่เริ่มต้นจากจุดเล็กๆ เหมือนกัน แต่สิ่งที่ต่างกันคือ SME จะเริ่มต้นด้วยเงินทุนของตัวเอง แต่สตาร์ทอัพจะเริ่มต้นจากการขายไอเดียของผู้ก่อตั้ง และมีผู้สนใจมาร่วมลงทุน และการเติบโตของสตาร์ทอัพที่จะไปได้รวดเร็วกว่าและความเสี่ยงที่มากกว่า SME

 

Startup กับธุรกิจในประเทศไทย

รู้จัก, Startup, ธุรกิจ

สำหรับในประเทศไทย Startup นั้นมีธุรกิจมาเป็นระยะเวลาเมื่อไม่นานนี้เอง (ไม่เกิน 20 ปี) ซึ่งก็ก่อตั้งหรือเข้ามาเปิดตัวในไทยเพราะต้องการแก้ปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมา ซึ่งก็ถือว่ามีทั้งที่ประสบความสำเร็จและไม่ประสบความสำเร็จ เราก็จะมายกตัวอย่าง 10 บริษัทสตาร์ทอัพในไทยที่มีชื่อเสียงและทุกคนน่าจะรู้จักมาให้ดูกัน

 

1. Viabus สตาร์ทอัพที่มาเพื่อแก้ปัญหาการรอรถเมล์ของชาวกรุงเทพฯ

2. Grab สตาร์ทอัพที่แก้ปัญหาในการเรียกแท็กซี่และรถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง รวมถึงบริการส่งอาหาร ส่งของ และบริการด้านการเงิน

3. Wongnai สตาร์ทอัพแพลตฟอร์มที่รวบรวมรีวิวร้านอาหารทั่วประเทศ และมีบริการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชั่น/เว็บไซต์อีกด้วย

4. Line โปรแกรมแชทยอดนิยมของหลายประเทศ เริ่มต้นจากการเป็นแอปพลิเคชั่นแชท และพัฒนาบริการอื่นๆ ทั้ง การเงิน ขายของ ธุรกิจ เกม รวมถึงตัวละครที่สามารถสร้างรายได้ไม่น้อย

5. Fastwork สตาร์ทอัพแพลตฟอร์มที่ช่วยเป็นศูนย์ให้กับฟรีแลนซ์ที่หางาน หรือบริษัทที่หาฟรีแลนซ์

6. Fixzy สตาร์ทอัพแพลตฟอร์มที่ช่วยให้เราหาช่างมาซ่อมแซมสิ่งต่างๆ ในบ้านได้

7. Flow Account สตาร์ทอัพแพลตฟอร์มที่ช่วยจัดการเรื่องบัญชีให้กับบริษัทของคุณ

8. Shopee แพลตฟอร์มการซื้อและขายสินค้าที่ง่ายและรวดเร็ว อยู่ในบ้านก็สั่งได้

9. Kaidee สตาร์ทอัพแพลตฟอร์มการซื้อขายของมือสองที่ทำได้ง่ายๆ

10. Booking สตาร์ทอัพที่ให้บริการจองที่พักทั่วโลก พร้อมดูรีวิวที่พักได้ด้วย

รู้จัก, Startup, ธุรกิจ

สตาร์ทอัพทั้งหมดนี้ก็ถือว่าเป็นนวัตกรรมที่ออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหาหลากหลายรูปแบบ ก็มีประโยชน์สำหรับผู้ใช้งานอย่างเราที่จะได้ความสะดวกสบาย นอกจากนั้นในมุมผู้ก่อตั้ง สตาร์ทอัพนั้นสามารถสร้างรายได้ให้กับพวกเขาได้จำนวนมากในระยะเวลาอันรวดเร็ว แต่ก็อย่างที่บอกไว้ว่าแม้จะรายได้ดี แต่ก็มีความเสี่ยงสูง อาจจะเกิดได้จากหลายๆ สาเหตุ ทางที่ดีที่สุดของผู้ก่อตั้งก็ควรที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และนำมาปรับใช้กับสตาร์ทอัพให้เหมาะสม สตาร์ทอัพของเราจะได้อยู่ได้ยาวๆ

 

ขอบคุณข้อมูลจาก S-curve Hub, Campus Star, Thumbs Up, GrowthBee, และ iURBAN

บทความที่เกี่ยวข้อง
Jobs aSearcher